Home » วิทยานิพนธ์ งานวิจัย กรณีศึกษา » การกำหนดกลยุทธ์การเพิ่มรายได้ นิติบุคคลอาคารชุด

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การกำหนดกลยุทธ์การเพิ่มรายได้ นิติบุคคลอาคารชุด

การกำหนดกลยุทธ์การเพิ่มกำไรของ นิติบุคคลอาคารชุดลาซาลพาร์ค อาคาร A

กิรณา เปล่งศรีเกิด , อัจฉราพรรณ ลีฬพันธุ์
บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ , มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
, 2008

บทคัดย่อ

          จากการสภาพการแข่งขันในธุรกิจอสังหาริมทรัพ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว ทาวเฮาท์ คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ หอพัก ห้องเช่า เป็นต้น มีการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ก็ได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิมมากในทุกๆ ด้าน พฤติกรรมของผู้บริโภคในสังคมคนเมืองที่มีเวลาจำกัด เพราะต้องใช้เวลากับการทำงานและการเดินทางที่ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา

          จึงทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมที่อยู่ติดกับแนวรถไฟฟ้า ได้เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยของสังคมคนกรุงเทพฯ มากขึ้น และราคาซื้อหรือเช่า ก็อยู่ในสัดส่วนที่ยอมรับและสามารถซื้อหรือเช่าได้ เพราะการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านเดี่ยว หรือทาวเฮาท์ ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจศึกษาข้อมูลค่อนข้างนาน และถ้าซื้อมาแล้ว เกิดความต้องการอยากขาย ก็ทำได้ยาก เปรียบเทียบกับการซื้อคอนโดมิเนียมไม่ได้ เพราะสามารถขายขาดหรือปล่อยให้เช่าจะทำได้ง่ายมากกว่า

           แต่เนื่องด้วยคอนโดมิเนียมเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงและต่อเนื่อง จึงทำให้อุตสาหกรรมคอนโดมิเนียมต่างพัฒนาภาพลักษณ์ของตนจนมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน และผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองและเลือกซื้อสูงเนื่องจาก เพราะมีคอนโดมิเนียมให้เลือกซื้อหรือเช่าอยู่หลายแห่ง เรียกได้ว่าทุกซอยของถนนในเมืองหลวง มีคอนโดมิเนียมสร้างอยู่ทุกที่เลยก็ว่าได้ จึงทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง ราคาและการบริการเสริมต่างๆ ที่แต่ละคอนโดมิเนียมก็สรรหาจัดมาเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งลูกค้าก็สามารถเปลี่ยนไปซื้อหรือเช่าคอนโดมิเนียมรายอื่นๆ ได้โดยง่าย

            ดังนั้นนิติบุคคล อาคารชุด ลาซาลพาร์ค อาคาร A จำเป็นต้องมีการปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่รุนแรงและปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานใหม่เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ลดปัญหาสภาวะขาดทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

            การศึกษาเรื่อง“การกำหนดกลยุทธ์การเพิ่มกำไร ของนิติบุคคล อาคารชุด ลาซาลพาร์ค อาคาร A” เพื่อช่วยให้ลดปัญหาสภาวะขาดทุนต่อเนื่อง และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน”  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้

  1. เพื่อทำการศึกษาปัจจัยภายในและภายนอก ที่ส่งผลกระทบให้ลาซาลพาร์ค คอนโดมิเนียม อาคาร A ประสบปัญหาภาวะขาดทุน
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเจ้าของร่วม หรือผู้พักอาศัยในลาซาลพาร์คอนโดมิเนียม อาคาร A
  3. เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มกำไร ของลาซาลพาร์ค คอนโดมิเนียม อาคาร A

           โดยทำการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ผู้จัดการคอนโดฯ และคณะกรรมการคอนโดฯ รวม 4 ท่าน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบไม่มีโครงสร้าง ในการสัมภาษณ์จะมีโครงร่างของคำถามในการหาคำตอบ และข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลรายรับ รายจ่ายของคอนโดฯและบทวิเคราะห์จากบทความของสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคอนโดมิเนียม เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และข้อมูลรายรับ-รายจ่ายของคู่แข่งขัน โดยใช้กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และกำหนดกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างใน การแข่งขันและกำหนดกลยุทธ์ในระดับต่างๆ

          จากผลการศึกษาพบว่า นิติบุคคล อาคารชุด ลาซาลพาร์ค อาคาร A มีปัญหาประสบปัญหาภาวะขาดทุนต่อเนื่อง เนื่องจากมีคู่แข่งที่มีศักยภาพสูง เกิดขึ้นมาก ทำให้สูญเสียลูกค้าไปเพราะลูกค้าหันไปซื้อหรือเช่าอาคารฯ ที่เป็นคู่แข่ง ทำให้ตอนนี้อาคารฯ มีห้องว่างที่ยังไม่มีคนซื้อหรือเช่าอยู่หลายห้อง และต้นทุนการดำเนินงานสูงอยู่แล้ว ประกอบกับมีห้องว่างเหลือ ทำให้ประสบปัญหาภาวะขาดทุน จากโอกาสทางการแข็งขันและจุดแข็งของอาคารฯ จึงทำให้อาคารฯ สามารถปรับกลยุทธ์ในแต่ระดับได้ดังนี้

  • กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate Strategy) เป็นกลยุทธ์การป้องกัน (Defensive Strategy) โดยเลือกใช้กลยุทธ์การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ (Harvest Strategies) เพราะต้องการฟื้นตัวเองจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นการพยุงตนเองไปก่อนในระยะแรกๆ
     
  • กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) ด้วยกลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy) ซึ่งจะทำให้อาคารฯ มีข้อได้เปรียบจากคู่แข่งขัน โดยการมีต้นทุนใน การดำเนินงานที่น้อยกว่า และยังคงทุกบริการที่ลูกค้าต้องการ (Customer Need) ทำให้อาคารฯ สามารถดึงดูดฐานลูกค้าเดิมไว้ได้ เพื่อไม่ให้ลูกค้าย้ายหรือขายเพื่อไปพักที่อื่น และเลือกใช้ กลยุทธ์ระดับหน้าที่ โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด และกลยุทธ์ทางทรัพยากรมนุษย์ มาช่วยเสริมกลยุทธ์ระดับบริษัท และกลยุทธ์ระดับธุรกิจ อีกทางหนึ่ง
     
  • กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) เลือกใช้กลยุทธ์แบบผสมผสาน โดยใช้ กลยุทธ์ทางการตลาด และกลยุทธ์ทางทรัพยากรมนุษย์ มาช่วยเสริมกลยุทธ์ระดับบริษัท และ กลยุทธ์ระดับธุรกิจอีกทางหนึ่ง
     

Link   http://department.utcc.ac.th/library/images/stories/file/proceeding/2008/proceeding096.pdf