Home » วิทยานิพนธ์ งานวิจัย กรณีศึกษา » ต้นทุนค่าใช้จ่ายพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย 8 ชั้น กรณีศึกษา: อาคารชุดพักอาศัยในส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ต้นทุนค่าใช้จ่ายพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย 8 ชั้น กรณีศึกษา: อาคารชุดพักอาศัยในส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์
ต้นทุนค่าใช้จ่ายพื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย 8 ชั้น
กรณีศึกษา: อาคารชุดพักอาศัย14 อาคาร ในพื้นที่ส่วนกลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร

นฤมล อาภรณ์ธนกุล
Facility Management : Faculty of Architecture,Chulalongkorn University

              อาคารชุดพักอาศัยความสูง 8 ชั้น เป็นโครงการพักอาศัยที่มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารพื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุดพักอาศัยเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อการอยู่อาศัยของเจ้าของร่วม และสภาพอาคาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายพื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุดพักอาศัย และลักษณะการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โดยศึกษาจากอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษาจำนวน 14 อาคาร ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ธุรกิจกรุงเทพมหานคร การศึกษานี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารด้านการเงินของแต่ละอาคาร และการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคลของอาคาร

             จากการศึกษาพบว่าหมวดค่าใช้จ่ายในค่าบริหารจัดการและเงินเดือน ค่างานบริการอาคาร ค่าสาธารณูปโภค มีแนวโน้มสูงขึ้น และรายการค่าใช้จ่ายของอาคารชุดมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย Operating Expense และ Capital Expense ซึ่งเป็นต้นทุนของอาคารชุดพักอาศัย โดยค่าใช้จ่ายของอาคารชุดพักอาศัยทั้ง 14 อาคาร มีการบันทึกรายการค่าใช้จ่ายแต่ละหมวดแตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายในแต่ละอาคาร เพื่อสะท้อนให้เห็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แท้จริง

             ต้นทุนค่าใช้จ่ายของอาคารชุดพักอาศัยมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุอาคาร และปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายอาคารชุดพักอาศัย ประกอบด้วย บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบประกอบอาคาร และผู้บริหารอาคารชุดจำเป็นต้องทราบโครงสร้างและแนวโน้มของค่าใช้จ่ายของอาคารอย่างถ่องแท้ เพื่อสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย และจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการอาคารชุดพักอาศัยได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่า

            การศึกษานี้พบว่าการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางของอาคารชุด14 อาคาร พบว่าอาคารกรณีศึกษา A B E F มีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่รวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่อาคารกรณีศึกษา D G H I J K L M N มีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาลิฟต์ และค่าเบี้ยประกันภัย แยกต่างหาก ยกเว้นอาคารกรณีศึกษา C ที่มีการจัดเก็บเงินฉุกเฉินเพิ่มเติม
การศึกษานี้เสนอว่า ผู้บริหารอาคารชุดพักอาศัยควรมีข้อมูลรายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องและมีการจดบันทึกข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ครบต้อง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ หรือไม่ได้จัดเตรียมไว้

 

ภาควิชา สถาปัตยกรรมศาสตร์…………………... ลายมือชื่อนิสิต...................................................................
สาขาวิชา สถาปัตยกรรม…………………………. ลายมือชื่อที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก.....................................
ปีการศึกษา 2551…………………………………………………………………………………………………….

 

ที่มา  http://www.specialprogram.arch.chula.ac.th/files/thesis/9T1f5074272025.pdf