Home » แฟ้มข่าว อสังหาริมทรัพย์ » ตึกสูงกทม.ต้านแผ่นดินไหวได้ - นักวิชาการยืนยัน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ตึกสูงกทม.ต้านแผ่นดินไหวได้ - นักวิชาการยืนยัน

นักวิชาการยัน มั่นใจตึกสูงกทม.ต้านดินไหวอยู่
ข่าวไทยรัฐออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2554

จากการถกประเด็นในหัวข้อ "ประเทศไทย...กับการรับมือแผ่นดินไหว" ภัยพิบัติที่กำลังเข้ามาใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย การปรับตัวของตึกสูงในกทม.มีความน่าเชื่อถือ และได้มาตรญานมากน้อยเพียงใด...

จากการถกประเด็นในหัวข้อ "ประเทศไทย...กับการรับมือแผ่นดินไหว" โดยนักวิชาการด้านแผ่นดินไหว ธรณีวิทยา และวิศวกรด้านโยธาธิการ ที่มาร่วมกันมองถึงแผนการรับมือแผ่นดินไหว ภัยพิบัติที่กำลังเข้ามาใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย ในรายการคมชัดลึก เมื่อคืนวันที่ 25 มี.ค.2554 ทางสถานีโทรทัศน์ เนชั่นแชแนล เกี่ยวกับการปรับตัวของตึกสูง และมาตรฐานการรับมือภัยพิบัติของอาคารสูงมีความมั่นใจได้มากน้อยเพียวใด

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญประจำหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อเสนเทศเชิงพื้นที่ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากสถิติแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดใกล้เคียงพื้นที่เมื่อวาน เคยเกิดขึ้น 7.7 ริคเตอร์ปี 2531 มีผู้เสียชีวิต 700 กว่าคน ถ้าแผ่นดินไหวลึกในชั้นดินน้อยกว่า 35 กม.ถือว่าตื้น ยิ่งตื้นยิ่งอันตราย แต่เมืองไทยโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริคเตอร์ยากมาก และรอยเลื่อนในประเทศไทยไม่ใช้ทุกรอยจะมีพลัง และส่วนมากเกิดลึกกว่า 35 กิโลเมตร ทำให้ส่วนมากเมื่อมีแผ่นดินไหวจะมีความแรงไม่เกิน 5 ริคเตอร์ แต่ที่เกิดแผ่นดินไหวที่พม่าแล้วตึกสูงในกรุงเทพฯ ได้รับแรงสั่นสะเทือน เพราะตึกสูงในกทม.มักเจาะเสาเข็มฐานรากลึกทะลุชั้นดินอ่อนไปถึงชั้นหิน เวลาเกิดการสั่นสะเทือนจากที่ไกลๆ จึงได้รับรู้แรงไปด้วย แต่กรุงเทพยังปลอดภับกว่าภาคเหนือ และเมืองกาญจนบุรี เพราะอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว

นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญฯ ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า กับเรื่องพิบัติภัย ขณะนี้ เป็นเรื่องใหม่ของสังคม กรณีของแผ่นดินไหวเป็นกรณีศึกษาที่ดีมาก ในเชิงการเรียนการสอนเรื่องการออกแบบต้านพิบัติภัยมีหลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับว่าสังคมเราต้องการมาตรฐานขนาดไหน สังคมไทยจะต้องเข้ามาเรียนรู้เรื่องมาตรฐานพิบัติภัย แต่นักวิชาการ และนักวิจัย ยังมองต่างกัน ในแง่วิศวกรเรายังมองเรื่องการออกแบบที่เหมาะกับการลงทุน สำหรับในบ้านเรา ไม่ได้มองตัวอย่างการป้องกันพิบัติภัยสูงๆ แบบในบ้านเมืองอื่นเอามาใช้กับเรา อาทิ การออกแบบที่ปลอดภัย แต่เมื่อหลายๆ รายเขาก็ต้องมีการคำนวณให้เกิดการคุมค่า ถ้าทำรายเดียวไม่ยาก

ด้าน
ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ดินอ่อนในกรุงเทพฯ ไม่จำเป็นที่อาคารสูงๆ จะต้องโยกเสมอ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ขึ้นอยู่กับความถี่ และรูปแบบการโยก โดยเราคาดได้ว่าอาคารแบบไหนจะโยก เช่นอาคารที่โลก 1-2 วินาทีต่อรอบ ยิ่งอาคารสูงมากก็ยิ่งมีการโลกหลายความถี่ เรื่องนี้วิศวกรออกแบบอาคารตึกสูงรู้ดี แต่เนื่องจากไม่มีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวใน กทม. แต่แหล่งกำเนิดใหญ่ๆ อยู่นอกกรุงเทพ ที่ส่งผลได้ เช่น แผ่นดินไหวภาคเหนือ ที่ห่างหลายพัน กม. และถ้าหากสะเทือนกว่า 7.5 ริกเตอร์ แล้วเกิดที่เมืองกาญจนบุรี ก็จะสามารถรับรู้เพราะเสาเข็มเจาะลึกไปถึงชั้นหิน แต่ไม่มีอันตรายกับตัวอาคาร

ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว กล่าวต่อว่า แต่ถ้าหากมีปัจจัยเสริมก็อาจส่งผลระยะยาวกับโครงสร้าง ที่เป็นอาคารตึกสูงจากการวิจัยและศึกษามาหลายๆ กรณี ในต่างจังหวัดทั้งในภาคเหนือ และกาญจนบุรี เป็นพื้นที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่อยู่ในพม่า จึงทำให้ไม่ว่าจะเป็นอาคารสูง หรือ บ้านเรือนประชาชนที่ไม่สูงก็ได้รับความเสียหาย แต่ใน กทม.อยู่ห่างจุดที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นพันกิโลเมตร ผลกระทบจึงน้อยเว้นเสียแต่จะมีปัจจัยบวกในด้านอื่นๆ มาสนับสนุนแรงสั่นสะเทือน

ดร.เป็นหนึ่ง กล่าวอีกว่า กฎกระทรวงไม่ได้ใส่รายละเอียดเรื่องการออกแบบ ก่อสร้างอาคารมากนัก กรมโยธาธิการก็ต้องมาใส่รายละเอียดมากขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่เราพูดถึงกัน ในการเรียนการสอนก็ไม่ได้ มีการเรียนรู้ด้านนี้ คนทำได้เป็นกลุ่มน้อยที่สนใจเรียนต่อระดับปริญญาตรี ส่วนอาคารที่สามารถต้านทานแผ่นดินไหว ไม่ได้มีการเพิ่มเติมติดอุปกรณ์ หรือออกแบบให้มีลักษณะปรับปรุงให้ทนทานกันเสมอไป อาจจะเป็นอาคารธรรมดา ที่เสาโครงสร้างก็ปกติทั่วไป แต่หลักการออกแบบอาคารต้องรักษาชีวิตคน อาจจะร้าวได้ สั่นได้ โยกได้ แต่คนต้องออกจากอาคารได้เวลาเกิดแผ่นดินไหว

นายสุรชัย พรภัทรกุล วิศวกรใหญ่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า สำหรับกฎหมายการก่อสร้างอาคาร การบังคับใช้ค่อนข้างตอบยากอยู่ที่ความรับผิดชอบของวิศวกร แต่หลังจากปี 2550 ก็น่าจะมั่นใจได้ระดับหนึ่ง กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และในฉบับแก้ไข กฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ได้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก และกาญจนบุรี โดยเหตุที่ กฎกระทรวงนี้ เป็นข้อกำหนดอันแรก เกี่ยวกับ การออกแบบอาคาร ต้านแผ่นดินไหว ในประเทศ ออกมารองรับ มองว่าเหมาะสมและเพียงพอ ในการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพราะอาคารสาธารณะ อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม

วิศวกรใหญ่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวอีกว่า
ตามกฎหมายระบุบังคับว่าอาคารตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปต้องมีการออกแบบอาคารที่ต้านแผ่นดินไหว โดยผู้ก่อสร้างต้องไปยื่นแบบกับโยธาจังหวัด แล้วฎกระทรวงที่ผ่านมาก็มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขมามาก กลายเป็นตัวถ่วงการพัฒนา เพราะแก้ไขยาก และยังมีกฎหมายดูแลวิศวกรอีก 3 กฎหมาย คือ กฎกระทรวงฯ ตามพรบ.ควบคุมอาคารฯ กฎหมายแพ่ง และอาญา เราต้องมั่นใจในกฎกระทรวงฯ เหมือนกับเราต้องมั่นใจวิศวกรไทย และทำให้มั่นใจ 100% ว่าเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว จะปลอดภัย และการผ่านกฎกระทรวงผู้พักอาศัยก็มั่นใจว่า สามารถพักอาศัยได้อย่างปลอดภัย

สิ่งสำคัญในอนาคตจากนี้ อยากให้มีการรียนการสอนวิศวกรและสถาปนิกที่จะจบออกมาใหม่ โดยปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ให้มีการเรียนเรื่องการออกแบบก่อสร้าง อาคารต้านแผ่นดินไหว ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีเลย เด็กรุ่นใหม่ที่จบออกมาจะได้มาช่วยกันออกแบบ ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่ต้านแผ่นดินไหวมากกว่านี้ เพราะลำพังเวลานี้ก็อาศัยคนที่มีความรู้มีประสบการณ์ มีไม่มากเพียงพอ ประเทศยังต้องการวิศวกรและสถาปนิกที่มีความสามารถด้านนี้อีก เพราะแผ่นดินไหวมันใกล้ตัมากชนิดที่อะไรก็เกิดได้ในเวลานี้...