Home » เรารักในหลวง ทรงพระเจริญ » จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

        จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นงานจิตรกรรมประเภทหนึ่ง  อันแสดงถึงพระพระปรีชาสามารถในศิลปะแขนงนี้  ตลอดระยะเวลาที่ทรงงานจิตรกรรมระหว่าง  พ.ศ. ๒๕๐๒  ๒๕๑๐ โดยหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงอุทิศเวลาส่วนพระองค์ทั้งหมดให้กับพระราชกรณียกิจในการช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์ งานด้านศิลปะส่วนพระองค์จึงหยุดลงเพียงเท่านั้นแต่ก็ถือว่าทรงคุณค่าสูงสุดต่อทั้งวงการศิลปะไทย และต่อทั้งความภาคภูมิในความเป็นชาติของเรา  ปัจจุบันจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ ส่วนใหญ่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานมาจัดแสดงไว้ที่ พระตำหนักวังสวนกุหลาบ

        ผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์จำนวนนับร้อยองค์  สะท้อนถึงความสนพระราชหฤทัยในการทรงงานจิตรกรรมทุกขั้นตอน  ตั้งแต่กรรมวิธีทรงเขียน  รวมไปถึงทรงเตรียมวัสดุพื้นภาพ  เตรียมสี  จินตภาพที่ทรงนำเสนอ  และทรงประกอบกรอบภาพแต่ละองค์ด้วยพระองค์เอง

  

หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ศิลปินชั้นแนวหน้าของไทยเคยทรงประทานความเห็นใน งานจิตรกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ว่า เราอาจแบ่งงานของพระองค์ท่านได้เป็น 3 กลุ่ม คือช่วงเริ่มต้นจะเป็นงานแนว realistic คืองานเหมือนจริงดังจะเห็นได้จาก portrait ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นภาพของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

พระอัจฉริยภาพด้านจิตกรรมเกิดขึ้นจากความสนพระราชหฤทัยส่วนพระองค์ตั้งแต่ครั้งที่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๔ โดยพระองค์ทรงศึกษาจากตำราที่ซื้อมาด้วยพระองค์เอง และบางส่วนก็มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย นอกจากนั้นไทรงศึกษาศิลปะไทยจากพระเทวาภินิมมิต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินอาวุโสได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายคำปรึกษาแด่พระองค์ ซึ่งแต่ละท่านก็ล้วนเป็นศิลปินชั้นครูทั้งนั้น เช่น เหม เวชกร, เฟื้อ หริพิทักษ์, เขียน ยิ้มศิริและอวบ สาณะเสน เป็นต้น

 

 และคณะศิลปินเหล่านี้ ต่างก็ได้ทำหน้าที่เพียงถวายคำปรึกษาทางด้านเทคนิค ส่วนการปฏิบัติจริงนั้นพระองค์จะทรงเขียนเองตามแนวพระราชดำริ และหากพระองค์สนพระราชหฤทัยผลงานของศิลปินท่านใดก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่พักของศิลปินผู้นั้นเพื่อดูวิธีการทำงานพร้อมกับมีพระราชปฏิสันถารซักถามเทคนิควิธี ทั้งการใช้สี ผสมสีต่างๆ จนสามารถเข้าใจวิธีสร้างชิ้นงานได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มเขียนภาพอย่างจริงจังเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๒โดยผลงานของพระองค์ที่ได้ทรงสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นมี ๓ ลักษณะใหญ่ๆ คือ ภาพแบบเหมือนจริง ภาพแบบลัทธิเอ็กซ์เพรสชั่นนิสต์ และภาพนามธรรม ซึ่งพระองค์ทรงวาดทั้งภาพคน ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่น รวมไปถึงภาพที่ทรงใช้จินตนาการส่วนพระองค์สร้างสรรค์ขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่จะทรงวาดภาพพระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์

โดยพระองค์ได้รับสั่งเกี่ยวกับการวาดภาพของพระองค์ว่า ทรงวาดอย่างนักวาดภาพสมัครเล่น คือทรงวาดตามพระราชหฤทัยมิได้ทรงคำนึงถึงทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์อันใดหรือนำแนวทางของผู้ใดเข้ามามีอิทธิพลกับงานเขียนภาพ ทำให้ผลงานออกมาได้ดั่งจินตนาการและยังมีเอกลักษณ์ที่มีอิสระเฉพาะตัวอย่างเห็นได้ชัด

 

  

 

 ซึ่งในระยะแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๓ ภาพวาดฝีพระหัตถ์จะเป็นภาพที่มีแบบในการวาด อย่างเช่น พระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านหน้าตรงหรือหันข้างแค่ครึ่งพระองค์ และในปีต่อมาจึงทรงเริ่มวาดภาพที่มีลักษณะเป็นนามธรรมมากขึ้น โดยมีการนำแนวคิดส่วนพระองค์สอดแทรกลงในผลงานฝีพระหัตถ์และส่วนใหญ่จะเป็นภาพของใบหน้าคนหรือรูปคนแบบเต็มตัว

เทคนิคในการใช้สีและฝีแปรงจากในระยะแรกที่นุ่มนวลก็เปลี่ยนไป องค์ประกอบของเส้น รูปทรงและมีเทคนิคการเขียนสีน้ำมันทับซ้อนจนดูหนาเป็นก้อนๆ การแสดงออกของสีเปลี่ยนแปลงไปจากความเป็นจริง มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น การตัดทอนโครงเส้นเกิดขึ้นตามจินตนาการ และการเขียนภาพกึ่งเหมือนจริงกึ่งนามธรรมนั้น ภาพแต่ละภาพก็มีเนื้อหาตามความคิดของพระองค์เป็นแนวทางกำหนดอย่างชัดเจน


  

 สำหรับผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในระยะแรกๆ ไม่เป็นที่ทราบกันโดยแพร่หลาย จะมีโอกาสได้ชมก็แต่ในวงแคบๆ จนกระทั่งเริ่มปรากฏให้ประชาชนทั่วไปได้เห็น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กพระราชทานภาพจิตรกรรมเข้าร่วมแสดงในงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๔ หลังจากนั้นพระองค์ทรงสร้างงานจิตรกรรมอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทางมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘

จนกระทั่งในปี พ. ศ. ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงเขียนภาพอีกเนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจมาก เมื่อรวมผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ นั้นมีจำนวนถึง ๑๐๗ ภาพ และน้อยคนนักจะมีโอกาสได้ชื่นชมภาพวาดฝีพระหัตถ์ชุดนี้

  

 แต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีการจัดทำหอศิลปะเสมือนจริงขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “อัครศิลปิน” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมผลงานเผยแพร่ศิลปกรรมฝีพระหัตถ์ในสาขาต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านเว็บไซต์ www.supremeartist.org และเมื่อเผยแพร่สู่สาธารณะแล้ว ก็ทำให้เหล่าพสกนิกรสามารถศึกษาข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ทำให้ได้ชื่นชมงานศิลปกรรมอันเป็นพระอัจฉริยะของพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดในโลก

          ที่โดดเด่นมากๆ ได้แก่ภาพ portrait ของสมเด็จพระบรมราชชนก ที่มีการให้สีอย่างปราณีต และใช้แสงเงาได้อย่างน่าสนใจ

ภาพ "สมเด็จพระบรมราชชนก" ,1961

 

          อีกภาพที่ ม.จ.การวิก เห็นว่าโดดเด่นไม่แพ้กัน คือภาพที่ไม่มีชื่อ แต่เป็นภาพของหญิงสูงอายุคนหนึ่ง ลงวันที่ไว้ 11-6-07 จะสังเกตฝีแปรงที่หนักแน่น แสดงอารมณ์มากขึ้น

ภาพไม่มีชื่อ ,1964

 

          จากงานแนว realistic จึงพัฒนาเป็นงานแนว expresstionistic คือแสดงออกถึงอารมณ์มากขึ้น ไม่ต้องกังวลกับความสมจริงหรือความสวยงาม จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้สีที่แรง มีชีวิตชีวามากขึ้น โดยทรงพยายามทิ้งทฤษฏีศิลปะที่มีในขณะนั้น หลีกหนีอิทธิพลของศิลปินท่านอื่นๆ คิดค้นเทคนิคใหม่ๆ และแสดงความเป็นพระองค์เองออกมาให้ได้ในที่สุด

สมเด็จพระนางเจ้าฯ ในแบบ realistic


สมเด็จพระนางเจ้าฯ ในแบบ expressionistic  ,1963


          ภาพฝีพระหัตถ์ในกลุ่มสุดท้ายคือแนว abstract ถือเป็นการปลดปล่อยทั้งอารมณ์ และความคิดของศิลปิน โดยที่ไม่ถูกจำกัดด้วยรูปร่าง หรือความมีเหตุมีผลใดๆ ระบายออกมาด้วยฝีแปรงที่แรงขึ้นอีก และสีที่ตัดกันมากขึ้น

บุคลิกซ้อน (Double Personality) เทคนิคสีน้ำมัน


          มือแดง ,1961 เป็น abstract ที่ทรงวาดขึ้นขณะที่ทรงพระประชวร ด้วยมีไข้สูง ศิลปินชั้นนำของประเทศให้ความเห็นว่าเป็นภาพที่สามารถแสดงออกถึงอารมณ์ได้น่าสนใจอย่างมาก

ภาพมือแดง , 1961

 

 

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ .. HER MAJESTY QUEEN SIRIKIT

 

ครอบครัว (Family) เทคนิคสีน้ำมัน

ไปตลาด .. GOING TO MARKET

 

   

ไม่ปรากฎชื่อ .. UNTITLED

 

ประติมากรรมฝีพระหัตถ์ ..... 
พระรูปปั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถครึ่งพระองค์ 
ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน ขนาดสูง ๑๒ นิ้ว ต่อมาได้ทำแม่พิมพ์หล่อเป็นปูนปลาสเตอร์