Home » บทความกฏหมาย ที่สำคัญ » กฎหมาย และมาตรฐานงานอาคาร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
กฎหมาย และมาตรฐานงานอาคาร

กฎหมาย และมาตรฐานงานอาคาร

โดย นายสถาพร โภคา
รองศาสตราจารย์ และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
http://www.sdhabhon.com
ปรับปรุงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2553

          กฎหมายอาคาร และมาตรฐานงานอาคาร ประกอบด้วยกลุ่ม กฎหมายที่เกี่ยวกับเกณฑ์กำหนด ข้อห้าม วิธี หรือข้อปฎิบัติที่เกี่ยวแก่งานอาคาร ได้แก่ กฎหมายอาคาร กฎหมายกรรมสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างเกี่ยวเนื่องกับที่ดิน กฎหมายว่าด้วยสุขอนามัย และความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร กฎหมายสำหรับผู้พิการ ทุพลภาพ และคนชรา กฎหมายสิ่งแวดล้อมและพลังงาน กฎหมายวิชาชีพ กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน (เช่นประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่ง)

          ในเบื้องต้น กล่าวได้ว่า กฎหมายอาคาร มีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชน คือมุ่งรักษาประโยชน์ ความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของส่วนรวม หรือสังคม กฎหมายแม่บทที่เกี่ยวกับงานอาคารคือพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร มีเนื้อหาประกอบด้วย เรื่องทั่วไป อาทิ นิยาม โดยเฉพาะคำว่า “อาคาร” คณะกรรมการควบคุมอาคาร เจ้าพนักงาน การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น การอุทธรณ์ นายช่างและนายตรวจ เขตเพลิงไหม้ เบ็ดเตล็ด บทกำหนดโทษ อัตราค่าธรรมเนียม และอื่น ๆ นอกจากนั้น ยังมี กฎกระทรวง ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยในประเด็นต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร วัสดุ พื้นที่ภายในอาคาร และบันได ที่ว่างนอกอาคาร ลักษณะ แบบ รูปทรง สัดส่วน เนื้อที่ ที่ตั้งของอาคาร ระดับเนื้อที่ของที่ว่างภายนอกอาคาร หรือแนวอาคาร และระยะเหนือระดับระหว่างอาคารกับอาคารหรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่างอาคารกับ ถนน ทางเท้าหรือที่สาธารณะ ขนาดและจำนวนที่จอดรถ และอื่น ๆ

         เรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยในอาคาร อาทิ ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันเพลิงไหม้ ระบบสัญญาณแจ้งเตือนเพลิงไหม้ และระบบดับเพลิง ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า บันไดหนีไฟ ผนังกันไฟ ระบบอัดอากาศในช่องทางหนีไฟ การบรรเทาสาธารณภัย ระบบบำบัดน้ำเสีย และการระบายน้ำทิ้ง ระบบประปา ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ระบบลิฟต์ เกณฑ์ในการคำนวณออกแบบอาคาร อาทิ กำลังวัสดุ น้ำหนักบรรทุกจร แรงลม และอื่น ๆ ระเบียบวิธีขั้นตอนปฏิบัติค่าธรรมเนียม และเวลา อาทิ การยื่นขออนุญาต เอกสาร หรือหลักฐาน ที่จะต้องยื่นขออนุญาต กำหนดเวลาในการยื่นขออนุญาต หรือเจ้าพนักงานจะมีคำสัง่ ค่าธรรมเนียมฯ กำหนดชนิดหรือประเภทของอาคาร หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบงานออกแบบ และคำนวณส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหว เป็นต้น
            กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอาคาร โดยสังเขป เช่น กฎหมายว่าด้วยกฎหมายกรรมสิทธิ์การใช้ประโยชน์ หรือสิ่งปลูกสร้างเกี่ยวเนื่องกับที่ดิน กฎหมายพลังงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายหมายมหาชนกฎหมายเอกชน (กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กฎหมายวิชาชีพ การกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วย จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกร และอื่น ๆ ทั้งนี้ สามารถจำแนกกฎหมายอาคารเป็นกลุ่ม ๆ ตามเรื่อง หรือเนื้อหา พิจารณาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กฎหมายอาคารอาจออกโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงมีจำนวนมาก เป็นกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ตามสภาพข้อเท็จจริง สังคม วิทยาการ หรือเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว

Book link  http://www.sdhabhon.com/BuildingDesign/BuildingRegulation-MSWord.pdf