Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » การได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของชาวต่างชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของชาวต่างชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การขอได้มาซึ่งที่ดินหรือห้องชุดของคนต่างด้าว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าว

                  . กรณีคนต่างด้าวขอได้มาซึ่งที่ดิน  ปัจจุบันคนต่างด้าวสามารถที่จะขอได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทยได้ใน ๓ กรณี คือ

                        .๑ โดยการขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้ว(หรือยังไม่เคยมี) ต้องไม่เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ ตามความในมาตรา ๘๗ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น ที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่   

                        .๒ คนต่างด้าวที่ได้นำเงินมาลงทุนตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท อาจขอให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยในการขอได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามนัยมาตรา ๙๖ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 

                        .๓ คนต่างด้าวอาจขอได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ..๒๕๒๐ ซึ่งสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โทร. ๐-๒๕๓๗-๘๑๑๑ หรือพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ..๒๕๒๒ โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร. ๐-๒๒๕๓-๐๕๖๑ หรือตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ..๒๕๑๔ 

                  . กรณีคนต่างด้าวขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด

                        คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวจะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดในประเทศไทยได้ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ หากขาดหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่อาจที่จะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ กล่าวคือ

                        .๑ ต้องเป็นคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

                                () เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยแสดงหลักฐานหนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างด้าว และใบสำคัญถิ่นที่อยู่  (แบบ ตม.๑๑,ตม.๑๕ หรือ ตม.๑๗ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ซึ่งออกให้โดยกองตรวจคนเข้าเมืองสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  หรือสำหรับคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งออกให้โดยสถานีตำรวจท้องที่ที่คนต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดในกรณีนี้ได้ โดยไม่ต้องนำหนังสือเดินทางมาแสดงอีก

                                () เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร  ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนโดยแสดงหลักฐานหนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างด้าว   และหนังสือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รับรองว่าเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

                                () เป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๗ และมาตรา ๙๘ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย โดยแสดงหลักฐานการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจำกัด  บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

                                () เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยแสดงหลักฐานหนังสือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่รับรองว่าเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

                                () คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร หรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ต้องแสดงหลักฐานดังต่อไปนี้

                         .๒  การถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวและนิติบุคคลดังกล่าวในข้อ ๒.๑ เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา ๖ โดยมีข้อยกเว้นดังนี้

                                . สำหรับอาคารชุดใดที่จะมีคนต่างด้าวและหรือนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อ ๒.๑ ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเกินกว่าอัตราร้อยละสี่สิบเก้า  อาคารชุดนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล หรือเขตเมืองพัทยา มีที่ดินที่ตั้งอาคารชุดรวมกับที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้ หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมทั้งหมดไม่เกินห้าไร่ มีห้องชุดไม่น้อยกว่าสี่สิบห้องชุด ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่จะขอให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดเกินร้อยละสี่สิบเก้า และอาคารชุดนั้นต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร 

                                . เมื่อครบกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๓ ..๒๕๔๒ ใช้บังคับ (วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๒) กฎหมายบัญญัติให้ยกเลิกความในข้อ ก.และให้คนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ได้ห้องชุดมาตามข้อ ก.หรือคนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ระบุไว้ใน ๒.๑ ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดต่อเนื่องจากคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าว ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้นต่อไปได้ แม้ว่าจะเกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ของห้องชุด
ทั้งหมดในอาคารชุดนั้น

                  . กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีหรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวและบุคคลสัญชาติไทยที่เป็นบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าว ขอได้มาซึ่งที่ดิน

                        .๑ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสโดยชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดินในกรณีอื่นที่คล้ายคลึงกันในระหว่างสมรส หรือในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากับคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี หากสอบสวนแล้ว ผู้ขอและคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไปได้  

                        สำหรับกรณีที่คู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะซื้อที่ดินหรือห้องชุดนั้นอยู่ต่างประเทศและไม่สามารถไปยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวไปดำเนินการบันทึกถ้อยคำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลหรือโนตารีปัปลิค ให้ได้ใจความว่า เงินทั้งหมดที่คู่สมรสที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยนำไปซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของคู่สมรสที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยทั้งหมด ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสินสมรส หรือเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วยแต่อย่างใด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือนั้นเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยจริง เสร็จแล้ว ถือมามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ ก็จะดำเนินการให้ได้

                        อนึ่ง สำหรับกรณีคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวที่ซื้อ หรือถือครองที่ดินหลังสมรส โดยแจ้งหรือยื่นเอกสารเป็นเท็จว่าเป็นโสดหรือไม่ได้สมรสกับคนต่างด้าวต่อเจ้าหน้าที่ก่อนที่กระทรวงมหาดไทยจะมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๗๙๒ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒ หรือซื้อหรือถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหลังสมรสโดยแจ้งหรือยื่นเอกสารเป็นเท็จว่าเป็นโสด หรือไม่ได้สมรสกับคนต่างด้าวก่อน กรมที่ดินมีหนังสือ ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๓๔๑๖๗ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๒ ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายมายืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินหรือห้องชุดทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว  มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เสร็จแล้วให้เจ้าพนักงานที่ดินเก็บเข้าสารบบไว้ และหากคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวอยู่ต่างประเทศ และไม่สามารถไปยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันกับคู่สมรสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ก็ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะซื้อที่ดินหรือห้องชุดอยู่ต่างประเทศ เสร็จแล้วนำมามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินเก็บเข้าสารบบไว้

                        .๒ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากัน หากสอบสวนแล้วเป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้ทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินร่วมด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไป

                        .๓ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวแต่ได้หย่าขาดจากกัน หรือเลิกร้างกันแล้ว หรือบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทยขอทำนิติกรรมให้ได้มาซึ่งที่ดิน หากสอบสวนแล้วไม่ปรากฏพฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ต่อไป

                  . กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีหรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวและบุคคลสัญชาติไทยที่เป็นบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด

                        .๑ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอซื้อหรือขอรับให้กรรมสิทธิ์ในห้องชุด ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว (ย่อมถือว่ากรรมสิทธิ์ในห้องชุดเป็นของบุคคลสัญชาติไทย) หรือกรณีบุคคลสัญชาติไทย ที่เคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวแต่ได้หย่าขาดจากกันหรือเลิกร้างกันแล้ว หรือกรณีบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติไทยขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้พิจารณาเช่นเดียวกับกรณี ตาม ๓.๑ ถึง ๓.๓ โดยอนุโลม

                        .๒ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวนำเงินที่เป็นสินสมรส หรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แล้วแต่กรณี มาขอซื้อห้องชุดไม่ว่าจะใช้ชื่อบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือใช้ชื่อร่วมกับคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ต้องพิจารณาตัวบุคคลต่างด้าวเป็นสำคัญ โดยคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวนั้นต้องเป็นคนต่างด้าวตามนัยมาตรา ๑๙ () หรือ () หรือ () แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่เป็นคนไทยจึงมีสิทธิขอซื้อห้องชุดได้ตามสิทธิของคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวและต้องถือว่าห้องชุดนั้น คนต่างด้าวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทั้งหมด เพราะกรรมสิทธิ์ในห้องชุดไม่อาจแบ่งแยกได้ และการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้นต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติตามมาตรา ๑๙ ทวิ

                        .๓ กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวขอรับให้กรรมสิทธิ์ในห้องชุด ในฐานะเป็นสินสมรส  หรือทำให้คนต่างด้าวมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วยคนต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยนั้น ต้องเป็นคนต่างด้าวตามนัยมาตรา ๑๙ () หรือ () และต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในห้องชุดนั้นเป็นของคนต่างด้าวทั้งหมด และอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา  ๑๙ ทวิ ด้วย ส่วนบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ตามมาตรา ๑๙ ()ไม่อาจรับให้กรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นสินสมรสได้ เนื่องจากกรณีตามมาตรา ๑๙ ()เป็นการขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวในลักษณะของการซื้อขายซึ่งต้องมีการชำระค่าห้องชุด

 


สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
โทร.  ๐-๒๒๒๑-๙๑๘๙ (๒๓๗)

 

APPLICATION FOR ACQUISITION OF LAND OR CONDOMINIUM UNITS BY
ALIENS AND PERSONS CONNECTED WITH ALIENS

           1. Application by Aliens for Acquisition of Land
             Nowadays, an alien may apply for acquisition of land in Thailand in three cases as follows:

1.1 Receiving inheritance as a statutory heir under section 93 of the Land Code, in this instance, the total area including the land which has already been acquired (or has not yet been acquired) shall not exceed that specified in section 87 of the Land Code, i.e. not more than 1 rai   for a residential purpose;

1.2  Bringing the money into the Kingdom for investment to the amount as prescribed in the Ministerial Regulation, which shall be not less than Baht forty million.  In this instance, the land to be acquired must be for a residential purpose and must be of not more than 1 rai  in area, provided also that permission must be obtained from the Minister.  Under section 96 bis of the Land Code, the application for such acquisition of land shall be in accordance with rules, procedures and conditions prescribed in the Ministerial Regulation.

1.3  Applying for acquisition of land under other laws such as the Promotion of Investment Act, B.E. 2520 (1977), the Industrial Estate Authority of Thailand Act, B.E. 2522 (1979), the Petroleum Act, B.E. 2514 (1971).  Detailed Information regarding the Promotion of Investment Act and the Industrial Estate Authority of Thailand Act can be obtained from the Board of Investment (BOI) at tel. + 66-2537-8111 and from the Industrial Estate Authority of Thailand at tel. +66-2253-0561 respectively.

             2. Application by Aliens for Ownership in a Condominium Unit

                 An alien or a juristic person deemed by law as an alien may have ownership in a condominium unit in Thailand when 2 following conditions are satisfied.  In the absence of either condition, the  alien is not permitted to have ownership in a condominium unit.

                 2.1  Being an alien or juristic person deemed by law to be an alien under section 19 of the Condominium Act in any of the following prescribed categories viz: 

                        (1)  Being an alien permitted to have a residence in the Kingdom under the law on immigration, in this instance, the evidence required to be produced shall be a passport indicating the nationality of the alien, and the certificate of residence (either TM. 11, TM. 15 or TM. 17 Form, as the case may be) issued by the Immigration Division, National Bureau of the Royal Thai Police Force.  In the case of an alien who possesses an alien identification card issued by the Police Station in whose jurisdiction the alien is domiciled, such card can be used as evidence for the purpose of applying for acquisition of ownership in a condominium unit in this case without production of a passport; 

                  (2)  Being an alien granted permission to enter into the Kingdom under the law on promotion of investment, in this instance, the evidence required to be produced shall be a passport indicating the nationality of the alien, and a letter of the Office of the Board of Investment certifying that the person is an alien granted permission to stay in Thailand under the law on promotion of investment; 

                        (3)  Being a juristic person deemed by law to be an alien under section  97 and 98 of the Land Code and has been registered as a juristic person under the laws of Thailand, in this instance, the evidence required to be produced shall be the evidence indicating the registration as a juristic person under the laws of Thailand, i.e. a certificate issued by the corporate Registrar of Department of Commercial Registration, Ministry of Commerce must be produced in the case of a limited company, a public limited company, a limited partnership or a registered ordinary partnership; 

                        (4)  Being a juristic person that is an alien under the Alien Business  Operation Act B.E. 2542 (1999) and that is granted a certificate of promotion of investment under the law on promotion of investment, in this instance, the evidence required to be produced shall be a letter of the Office of the Board of Investment certifying that the person is granted promotion of investment under the law on promotion of investment; 

                  (5)  Being an alien or a juristic person deemed by law to be an alien, who brings a foreign currency into the Kingdom or withdraws the money from a non-resident Baht account or from a foreign currency account, the following evidence must be produced; 

                 2.2  The ownership in condominium units by the alien and juristic person in 2.1 shall not be in a higher proportion than forty nine percent of the total space of all units in that condominium at the time of the application for condominium registration under section 6 with the exceptions that:     

                        a. A condominium in which the condominium units are to be owned by the alien and/or the juristic person specified in 2.1 in a higher proportion than forty nine percent must be located in the area of Bangkok Metropolis, municipality or the City of Pattaya and the land on which the condominium is situated shall not, when combined with the land provided for common use or benefit of all co-owners, be more than five rai in area.  Also, the condominium units in such condominium shall not be less than forty units and the condominium shall already be registered not less than one year prior to the date of application for the alien to own the condominium units in the proportion higher than forty nine percent, and such condominium shall not be situated in the area of military safety zone under the law on military safety zone.

                       b. It is provided in section 9 of  the Condominium Act (No. 3), B.E.2542 that at the expiration of five years as from the date of the entry into force of the Condominium Act (No. 3), B.E. 2542 (28th April 1999) the provisions as set forth in a. shall be repealed and the alien or juristic person having obtained the condominium units under a. or the alien or juristic person specified in 2.1 to whom the condominium units are transferred from the aforesaid alien or juristic person may continue to have ownership in such condominium units although in the higher proportion than forty nine percent of the total space of all units in that condominium. 

            3.  Application for ownership in land by a Thai national who has an alien spouse or ex- spouse or by a Thai national who is a minor child of an alien 

                   3.1  In the case where a Thai national who has an alien legitimate spouse applies for permission to purchase land or accept a transfer of land in a similar case during marriage or cohabitation as husband and wife with an alien, as the case may be, if after the inquiry the applicant and the alien spouse have given a joint written confirmation that the money which that Thai national will expend on the purchase of the land is wholly the separate property of that Thai national and not the community property or the jointly acquired property, the competent official will proceed with the registration of rights and juristic act.

                          In the case where a Thai national whose spouse is an alien intends to purchase land or condominium unit but fail to give a joint written confirmation to the competent official as the alien spouse is being abroad, in this instance, an alien spouse shall make the statement declaring in written at the Royal Thai Embassy, Royal Thai Consulate or Notary Public that the money which that Thai national will expend on the purchase of the land or condominium unit is wholly the separate property of that Thai national and not the community property or property which an alien spouse has co-ownership in it.  The competent official shall declare that the alien is an actual spouse of the Thai national and then submit to the competent land official who will proceed with the registration of rights and juristic act.

                          In the case where a Thai national whose spouse is an alien, after marriage, has already purchased or possessed the land and informed or submitted a false document declaring the married status of a Thai national as single or had not been married to an alien to the official prior to the date the letter of Ministry of Interior, most urgent no. MOI 0710/wor 792 dated 23 March 1999 was issued, or has already purchased or possessed the condominium unit after marriage and informed or submitted a false document declaring the married status of a Thai national as single or had not been married to an alien prior to the date the letter of the Department of Lands no.  MOI 0710/wor 34167 dated 6 October 2000 was issued, such alien spouse, whether legitimate or illegitimate, and a Thai national shall together give a joint written confirmation, which later to be filed in the case-list (or dealing package), to the competent official that the money which that Thai national will expend on the purchase of the land or the condominium unit is wholly the separate property of that Thai national and not the community property or jointly acquired property.  If an alien spouse is being abroad and not be able to come to give a joint written confirmation to the competent official, in this instance, the application shall be considered in accordance with the case that a spouse of a Thai national who intends to purchase land or a condominium unit is being aboard, then an applicant shall consign the statement, after completion, to the competent land official for filing in the case-list.

                  3.2  In the case where a Thai national who has an alien spouse, whether  legitimate or illegitimate, applies for permission to accept a gift of land during marriage or cohabitation as husband and wife.  If the inquiry reveals that the acceptance of the gift is made with the intention that the land will become the separate property or personal property of the donee without resulting in the alien having co-ownership in the land, the competent official will proceed with the registration of rights and juristic act. 

                 3.3  In the case where a Thai national with an alien ex-spouse who is divorced or has ceased to cohabit or a Thai national who is a minor child of an alien applies for entering into a juristic act for the purpose of acquiring land, if an inquiry reveals no circumvention of law, the competent official will proceed with the registration of rights and juristic act. 

            4.  Application for ownership in a condominium unit by a Thai national whose spouse or ex-spouse is an alien or by a Thai national who is a minor child of an alien 

                4.1  In the case where a Thai national who has an alien spouse, whether legitimate or illegitimate, applies for permission to purchase or accept a transfer of ownership in a condominium unit with the intention that the property will become the separate property or personal property of the former, (for this purpose, it is deemed that a condominium unit is owned by a Thai national) or in the case where a Thai national with an alien ex-spouse who is divorced or has ceased to cohabit or where a Thai national who is a minor child of an  alien applies for the acquisition of ownership in a condominium unit, the application shall be considered in accordance with 3.1 to 3.3 mutatis mutandis. 

                4.2  In the case where a Thai national who has an alien spouse, whether legitimate or illegitimate, expends money which forms the community property or the jointly acquired property, as the case may be, for the purpose of purchasing a condominium unit, whether the purchase is made in the name of that Thai national alone or jointly in the name of the alien spouse as well, consideration shall principally be made of the alien. In this instance, the alien must be an alien within the meaning of section 19 (1), (2) or ( 5), as the case may be.  The Thai national spouse is therefore entitled to purchase a condominium unit in accordance with the entitlement of the alien spouse and it shall be deemed that such condominium unit is wholly owned by that alien because the ownership in a condominium unit is indivisible and governed by section 19 bis. 

               4.3  In the case where a Thai national who has an alien spouse, whether legitimate or illegitimate, applies for permission to accept a gift of a condominium unit, such gift being made with the intention that the property will become the community property or such gift resulting in the alien having co-ownership therein, the alien spouse of that Thai national must be an alien within the meaning of section 19 (1) or (2) and it shall be deemed that the condominium unit is wholly owned by the alien and governed by section 19 bis. In contrast, a Thai national who has an alien spouse under section 19 (5) is not allowed to accept a transfer of a gift which is made with the intention that the property will become the community property because the case under section 19 (5) is one involving the application by an alien for permission to acquire ownership in a condominium unit in a manner of sale, in respect of which payment therefor must be made. 

 

FOR more information please call 0-2225-5758, 0-2224-0187 FAX   0-2224-0187 E-mail Address : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน