Home » อสังหาฯ บ้าน คอนโด ที่ดิน » การตรวจสอบก่อนจองซื้อบ้านและทำสัญญาจะซื้อจะขาย

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การตรวจสอบก่อนจองซื้อบ้านและทำสัญญาจะซื้อจะขาย

ก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขาย

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555

         คนทำงานหลาย ๆ คนคงมีความฝันที่อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง สำหรับบางคนแล้วอาจจะเป็นบ้านหลังแรกในชีวิต แต่บางคนอาจเป็นบ้านแห่งการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่ แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ แต่ทุกคนก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ อยากได้บ้านนั่นเอง

         ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คนที่ผ่านมาในอดีตก็คือ การวางเงินจองซื้อบ้านไว้แล้ว แต่ไม่ได้บ้านตามที่จอง เพราะผู้ขายไม่สามารถโอนขายบ้านให้ได้ หรือไม่สามารถมาทำสัญญาจะซื้อจะขายกันได้ ซึ่งโดยหลักการแล้ว เงินที่วางจองไว้ (เงินมัดจำ) หากผู้รับจองไม่สามารถโอนขายบ้านให้ได้ตามสัญญา ก็จะต้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้จอง แต่หากผู้จองไม่เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายภายในเวลาที่กำหนด ก็จะต้องสูญเสียเงินจอง (ริบเงินมัดจำ) ไป แบบนี้ก็ตรงไปตรงมาดี ใครผิดสัญญาคนนั้นก็ควรต้องรับผิดไป

          แต่มีสัญญาจองบางอย่างที่มักจะมีข้อ ความเอาเปรียบผู้จองอย่างมาก เช่น ถ้าไม่ได้บ้านไม่ว่าเหตุใด ๆ ก็จะไม่มีการคืนเงินมัดจำ (ถือเป็นการเอาเปรียบกันอย่างมาก) ซึ่งในขณะนั้นคนจองส่วนมากก็ไม่ได้สนใจ เพราะอารมณ์อยากได้บ้านมีมากกว่า ในเวลานั้นถึงยังไงก็จะลงชื่อในใบจองอย่างเดียว

          การจะจองซื้อบ้านแต่ละครั้งควรตรวจสอบสาระสำคัญในสัญญาจองดังนี้ก่อน

  1. วันที่และสถานที่ทำสัญญาจอง (ต้องไม่ลืมดูวันที่ทำสัญญา)
  2. ชื่อผู้จองและผู้รับจอง (ชื่อ นามสกุล ที่อยู่) ต้องถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องมามีปัญหามาขอแก้ภายหลัง
  3. รายการทรัพย์สินที่จะจอง เช่น ถ้าจองบ้านและที่ดิน ก็ให้ดูว่ามีข้อความครบถ้วนหรือไม่ ที่ดินโฉนดเลขที่เท่าไหร่ ควรจะระบุให้ชัดเจนด้วยนะครับ
  4. ราคาทรัพย์สิน จำนวนเงินที่ต้องชำระ และวิธีการชำระเงิน (ต้องดูว่าตรงตามที่คุย หรือต่อรองกันไว้)
  5. กำหนดวันทำสัญญาจะซื้อจะขาย และดูว่ามีข้อความว่าผู้จองได้อ่านสัญญาแล้วหรือยัง หากมีข้อความดังกล่าว ผู้จองก็ควรที่จะต้องอ่านสัญญาจะซื้อจะขายนั้นแล้วจริง ๆ หากยังไม่ได้อ่านก็ให้ขอมาอ่านก่อนนะครับ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการวางเงินมัดจำ เพื่อเข้าทำสัญญาที่เราไม่รู้จัก อาจมีการเขียนข้อความอะไรบางอย่างที่เราไม่ทราบ และไม่ได้ตกลงไว้ แบบนี้ไม่ดีแน่ แต่ถ้าหากว่าไม่มีสัญญาจะซื้อจะขายให้อ่าน ก็อย่าเพิ่งจองนะครับ
  6. เงื่อนไขแปลกประหลาดอื่น ๆ ที่ผู้รับจองกำหนดขึ้นมา เช่น ไม่คืนเงินมัดจำไม่ว่ากรณีใด ๆ อะไรทำนองนี้ หากอ่านแล้วมีข้อสงสัย ก็ให้สอบถาม และขอให้แก้ไขเป็นข้อความที่เข้า  ใจง่ายจะดีกว่าครับ

         ลองทำตามที่กล่าว จะได้เกิดความสบาย ใจในการเข้าทำสัญญาต่าง ๆ ไม่ว่าสัญญาอะไรก็ตามมักเกิดจากความตกลงของคู่สัญญาที่คิด   เห็นตรงกัน หากว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งรับไม่ได้กับเงื่อนไข ก็ไม่ต้องไปเซ็นครับ เพราะหากมีการเซ็นแล้วเราก็ต้องรับผิดชอบตามข้อความของสัญญานั้น ๆ นะครับ.

ดินสอพอง  ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/950/173648