Home » วิทยาการ ไอที โลกาภิวัฒน์ » ทิศทางเทรนด์ผู้บริโภคปี 2011 “Digital Marketing” มาแรง

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ทิศทางเทรนด์ผู้บริโภคปี 2011 “Digital Marketing” มาแรง

ทิศทางเทรนด์ผู้บริโภคปี 2011
“Digital Marketing”มาแรง

           ธอมัส ไอเดีย อินเตอร์แอคทีฟ  เอเยนซี่ชั้นนำของไทย  ซึ่งที่ผ่านมาได้ออกบทวิเคราะห์ออกมาต่อเนื่องทั้งในภาพโกลบอล และในระดับประเทศ ชี้ว่า

           แนวโน้มดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งของไทยจะคึกคักต่อเนื่อง ด้วยจำนวนประชากร ที่อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพฤติกรรมการหาข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบอีคอมเมิร์ช มีเทคโนโลยีและเครื่องมือรองรับเต็มที่ จึงหนุนให้ช่องทางการสื่อสารอินเตอร์แอคทีฟเร่งยอดขายและสร้างแบรนด์ได้จริง พร้อมย้ำด้วยว่า ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ออนไลน์มากขึ้น คาดเทรนด์ของแพลตฟอร์มใหม่ๆ และโซเชียลเน็ตเวิร์คจะทำให้นักการตลาดต้องแบ่งสัดส่วนงบประมาณดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งเป็น 2-10% ของงบการตลาดขององค์กรในปีหน้า (2011) และมูลค่าสื่อออนไลน์หรือดิจิตอลมีเดียน่าจะมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 2% ของมูลค่าสื่อโดยรวมด้วย


           “แนวโน้มผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภคเริ่มหันมาทำกิจกรรมการตลาดผ่านสื่อ ออนไลน์มากขึ้น  เพราะเป็นช่องทางการตลาดใหม่ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุดและ เป็นสื่อการตลาดที่มาแรงสุดในปีนี้  เห็นได้จากยอดคนไทยใช้งานผ่านสื่อออนไลน์สูงถึง 17 ล้านคนทั่วประเทศ และมียอดคนไทยเป็นสมาชิกเฟซบุ๊คสูงถึง 6.16 ล้านคน เติบโต 300% จากปีก่อน ทำให้ปีนี้มีเม็ดเงินผ่านสื่อออนไลน์สูงถึง 2,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2% ของเม็ดเงินที่ใช้จ่ายผ่านสื่อทั้งหมดซึ่งอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท”

            น.ส. อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด  ผู้ดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ออนไลน์ครบวงจร กล่าว และเสริมด้วยว่า ความนิยมของโซเชียลเน็ตเวิร์คในปัจจุบัน ข้อมูลโซเชียลเน็ตเวิร์คยอดนิยม ยังเป็นเฟซบุ้คอยู่เช่นเดิม ด้วยจำนวนสมาชิกคนไทยบนเฟซบุ้คที่มีอยู่กว่า 6.1 ล้านคน จากการศึกษาพบว่าสมาชิกอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี 40% และ 25-34 ปี 35% โดยมีสถิติที่น่าสนใจในอัตราการเข้าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คของคนไทยพบว่า คนไทยเข้าไปใช้งานเฟซบุ้ค 2.2 ล้านคน, ยูทูบ 1.2 ล้านคน และทวิตเตอร์ 90,000 คนต่อวัน หมายถึง ช่องทางการสื่อสารที่ท้าทายนักการตลาด และจำเป็นต้องศึกษาและวางกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งจริงจังมากขึ้น รวมทั้งต้องก้าวตามเทคโนโลยีและตัดสินใจเลือกใช้ให้เหมาะสมทันท่วงที ขณะที่ต้องคำนึงถึงผลต่อแบรนด์หรือองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวด้วย

            ความแรงของดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งในปีนี้ พบว่ามีสัดส่วนของการเลือกใช้เป็นกลยุทธ์หลักมากขึ้น ในฐานะดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งกูรูที่คลุกคลีวงการออนไลน์มากว่า 15 ปี อุไรพรได้รวบรวมข้อมูลที่น่าจับตามองมานำเสนอพร้อมแนะ 8 เทรนด์ใหม่และกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งสำคัญสำหรับนักการตลาดในปีหน้ามา ฝากกัน ดังนี้

              

      1. กลยุทธ์ออนไลน์ผสมผสานโซเชี่ยลมีเดียอย่างฉลาด (Digital Strategy and Social Media Integration)  นั่นคือการผสมผสานดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งและโซเชียลมีเดียเข้าด้วย กันอย่างครบวงจร โครงสร้างนี้จำเป็นต้องอาศัย ความเข้าใจออนไลน์เทคนิคต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงผลทางการตลาดและติดตามได้ง่าย เป็นการขยายขอบข่าย ใน Digital Space เพื่อให้ได้ Marketing Effectiveness สูงสุด และเนื่องจาก e-CRM เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความ ภักดีในแบรนด์ที่แข็งแรง องค์กรและแบรนด์ต่างๆ จะหันมาให้ความสำคัญในการสร้างชุมชนออนไลน์ (Community) ของตนเอง โดยจะเป็นฝ่ายเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภคมากขึ้น ผู้ที่ชนะในเวทีนี้คือผู้ที่สามารถสร้าง ความสัมพันธ์ได้อย่างลึกซื้ง เมื่อตัวแปรสำคัญอย่างโซเชียลมีเดียยังมีกำลังแรง จึงควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ว่าจะ เป็นเรื่อง Marketing, Sales, Corporate PR, Customer Service, Customer Relationship, CSR และมีแนว ทางการบริหารจัดการโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อต่อยอดไปสู่ช่องทางอื่นๆ ได้

     
2. FaceBook ช่องทางสื่อสารที่เนื้อหอม เมื่อ FaceBook เปรียบเสมือนสมรภูมิที่มีอิทธิพลสำหรับนักการตลาด เพราะความนิยมในการใช้เป็นทั้งช่องทางโฆษณาและการตลาด แบรนด์จากทั่วทุกมุมโลกยังคงแข่งขันกันด้วยจำนวนแฟนบน FaceBook ผู้บริหารควรวิเคราะห์การวัดผลและวางกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับแฟนพันธุ์ แท้ที่เป็นลูกค้าตัวจริง อีกทั้งต้องมีมาตรการในการคัดสรรและสื่อสารกับลูกค้าโดยคำนึงถึงคุณภาพ มากกว่าจำนวน

         ข้อเท็จจริงที่ถูกมองข้ามเสมอ คือ โซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ใช่ของฟรี หรือของดีราคาถูก ยิ่งการพัฒนาแอพพลิเคชั่นมากขึ้นของเฟซบุ้คอย่าง Facebook Shop หรือ Facebook Messaging และอีกมากมายที่กำลังจะปรากฏออกมาเร็วๆ นี้ ย่อมหมายถึง สื่อทรงพลังนี้จำเป็นต้องมีคนมาดูแลบริหารจัดการรับมือและโต้ตอบกับผู้คนที่ เข้ามาได้อย่างมืออาชีพในทุกๆ ด้านและตลอดเวลา


      3. Brand Engagement พลังมัดใจสร้างแฟนพันธุ์แท้ นักการตลาดต้องทำงานหนักเพื่อผูกใจกลุ่มเป้าหมายให้สนใจติดตามและจดจำแบรนด์ ได้มากกว่าคู่แข่ง ด้วยกลยุทธ์ที่แยบยล โดนใจ เข้าถึง ดึงดูดและต่อเนื่องกับผู้บริโภคผ่านทางการตลาดออนไลน์ การสร้าง Campaign Micro Site ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ถูกใจ และให้ความบันเทิง จะสามารถสร้างความรู้สึกดีๆ อันจะนำไปสู่แรงผลักดันในการตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุด ในปีหน้านักการตลาดจะหันมาใช้วิดีโอออนไลน์ในการดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น

เราจะเห็น Features บนโซเชียลมีเดียที่มีบทบาทในการสร้าง Brand Engagement โดยเฉพาะโซเชี่ยลมีเดียหลักอย่างเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ที่มีการพัฒนาฟังก์ชั่น กันอย่างไม่หยุดยั้งไม่ว่าจะเป็น embedded photos หรือ videos เพื่อให้สามารถตอบโจทย์นักการตลาดได้


      4. อีคอมเมิร์ชและโซเชี่ยลคอมเมิร์ชมาแรง แน่นอนว่าการค้าปลีกออนไลน์ Retail e-Commerce และการค้าบนเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ค Social Commerce จะมาแรง ถือได้ว่าปีหน้าจะเป็นปี Kick-off ของร้านค้าออนไลน์ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ของไทย และจำนวนของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อและมั่นใจกับการจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ มีมากขึ้น นับเป็นช่องทางที่เป็นยุทธศาสตร์ในการแข่งขันที่น่าจับตามมอง เพราะการปิดการขายและชำระเงินได้ทันทีย่อมเป็นเป้าหมายในฝันของธุรกิจส่วนใหญ่

            เจ้าของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชรูปแบบต่างๆ จึงต้องมีความสามารถในเรื่อง Usability & User Experience ที่ตอบโจทย์ การบริหารจัดการและวางแผนการขาย การสต๊อคสินค้าและการขนส่งที่แม่นยำ รวมถึงการให้ความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ ในขณะเดียวกันเราจะเห็นร้านค้าออนไลน์แบบ Social Commerce ที่เข้ามาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น


      5. พลิกโฉมออนไลน์โปรโมชั่น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสีสันมากขึ้น เมื่อนักการตลาดที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมารุกตลาดเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ อย่าง Collective Buying Power ที่นำโดย Groupon หรือ Social Discount ที่เกิดขึ้นในแคมเปญต่างๆ ทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วของแบรนด์ที่ตอบสนองพลังการรวมตัวของกลุ่มผู้ บริโภคได้ นอกจากนี้การทำออนไลน์โปรโมชั่นในปีหน้าสำหรับร้านค้าออนไลน์จะทวีความเข้ม ข้น เนื่องจากมีทั้งรายเล็กรายใหญ่เข้ามาแชร์พื้นที่ จะได้เห็นความถี่ในการทำโปรโมชั่นประเภท one-day-deal, weekend deal, friend & family deal มากขึ้น สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล CRM อย่างเป็นระบบ จะได้เปรียบในการสร้างโปรโมชั่นเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย (Personalized Deal)

      6. อุปกรณ์ On-the-Go จะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค กลุ่ม Mobile Device ไม่ว่าจะเป็นมือถือ สมาร์ตโฟน ไอแพด แทบเล็ต ฯลฯ ที่ล้วนเป็นอุปกรณ์สื่อสารติดตัวแบบ On-the-Go Device ที่สร้างประสบการณ์ในการรับรู้และอินเตอร์แอคที่แตกต่าง มีอิทธิพลในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานและการรับรู้ข้อมูลของผู้บริโภค อย่างคาดเดาได้ยาก นักการตลาดจึงต้องเข้าใจและเลือกใช้เทคนิคการสื่อสารและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้เหมาะสม เพื่อการทำการตลาดอย่างประชิดติดตัวแก่ผู้บริโภค

      7. แบรนด์เพิ่มการลงทุนสร้างแอพพลิเคชั่น แนวโน้มนี้จะพบว่าแบรนด์พากันทุ่มเทงบประมาณมากขึ้นในการสร้างสรรค์แอพ (แอพพลิเคชั่น) บนอุปกรณ์ Device ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเน้นลักษณะของแอพที่มีเป้าหมายการใช้งานต่างกันมารวมอยู่ในเครื่องเดียว กัน อาทิ รูปแบบของ Commercial App ทำหน้าที่อัพเดตข้อมูลด้วยการ Push Update และเชื่อมผู้บริโภคไปสู่ข้อมูลบนเว็บไซต์, e-Magazine และ e-Catalog ที่ใช้ลักษณะเด่นของสื่ออินเตอร์แอคทีฟ และ Rich Media Content ทำให้เนื้อหาน่าประทับใจชวนติดตาม, Shopping App และ Geo-Location App ที่ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด และ Social & Mobile Game App ที่ได้เปรียบในความนิยมของเกมและบันเทิงที่เข้าถึงได้กับทุกกลุ่ม

      8. จับตามอง 3 ยักษ์ใหญ่ Google–Apple–FaceBook จะเป็น Online Advertising & Marketing Platform ที่ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อผู้บริโภค ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์มาตอบสนองความต้องการไม่รู้จบของ ประชากรบนโลกออนไลน์ได้อย่างชาญฉลาด การวางแผนบริหารสื่อ (Media Strategy & Planning) จะต้องเปลี่ยน รูปแบบวิธีการจากเดิมและทวีความเข้มข้นมากขึ้น การอัพเดทความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีและการเฝ้าดูพฤติกรรม ของผู้บริโภคจะเป็นสิ่งท้าทายของนักการตลาดเป็นอย่างมาก

ทั้งหมดนี้คือเทรนด์ผู้บริโภคไทยปี 2011 ที่นักการตลาด เจ้าของสินค้า รวมถึงนักวางแผนกลยุทธ์ด้านแบรนด์และโฆษณาต้องจับตามองให้ดี!
 
ที่มา    
http://www.ncn.in.th/main/scoop_detail.php?media_id=MTQy