Home » วิทยาการ ไอที โลกาภิวัฒน์ » บทบาทของผู้บริหารยุค IT

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
บทบาทของผู้บริหารยุค IT

บทบาทของผู้บริหารยุค IT

           เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต   การให้บริการส่งข่าวสาร SMS   หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ     ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้

1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2. ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3. การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4. ช่วย ในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5. ช่วยใน การจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใช้สารสนเทศ 
6. ช่วย ในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
7. ช่วยในการ สื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางโดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ  

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

         เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น

  1. การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ  ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
  2. การดำรงชีวิตประจำวัน  ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
  3. การดำเนินธุรกิจ  ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น  ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาอัน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
  4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย  รวดเร็วถูกต้องและทำให้เป็นโลกที่ไร้พรมแดน
  5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น   งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว 

บทบาทของผู้บริหารในส่วนที่ดีตามสภาพความเป็นจริงของโรงเรียน

         นักบริหารการศึกษายุคใหม่ต้องมีคุณสมบัติอันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เขาได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ นักบริหารต้องมีวิสัยทัศน์  มีความเป็นผู้นำที่สามารถจูงใจคนได้  ขายความคิดใหม่ ๆให้คนยอมรับสามารถวางแผนงานอย่างมีระบบเป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการพัฒนา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการพัฒนางานด้านไอทีนั้นก็คือผู้บริหารนี่แหละถ้าผู้บริหารเอาใจใส่ สนับสนุน ก็เชื่อแน่ว่าจะประสบความสำเร็จแต่ถ้าผู้บริหารทำในทางตรงกันข้าม ก็มักจะล้มเหลวไม่เป็นท่า                  

         ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ กล่าวว่า ท่าทีของผู้บริหารส่งผลต่อความสำเร็จของงานด้านไอทีผู้บริหาร และยังบอกสูตรการแสดงบทบาทการนำด้านไอทีของผู้บริหารไว้ ดังนี้ครับ

  1. ต้องแสดงความสนใจ อย่างน้อยต้องเข้าร่วมประชุมโครงการครั้งแรก (Kick Off Meeting)
  2. ชี้แจงนโยบาย และวัตถุประสงค์ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของลูกน้อง ให้ ทีมงานเข้าพบเพื่อสอบถามข้อขัดข้อง   สงสัยต่าง ๆ ได้โดยสะดวกเสมอ
  3. คอย ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบไอทีต่างๆ
  4. จัดสรรงบประมาณอย่างมีเหตุผล เพื่อค่าใช้จ่ายในหลาย ๆ ส่วน   เป็นต้นว่าค่าฮาร์ดแวร์ซอฟท์แวร์   ค่าบุคลากร   ค่าบำรุงรักษา   ค่าฝึกอบรม  ค่าของใช้สิ้นเปลืองต่าง ๆ
  5. ต้องทราบ และเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์เป็นงานที่มีความเคลื่อนไหว (พลวัต)ไม่หยุดนิ่ง และไม่ใช่ซื้อคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ทุกอย่างตามมาโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรอีก

         ปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านจือแร คือ ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วม ผู้บริหารมีศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ ซึ่งคุณลักษณะที่สำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับนักวิชาการ  บุรัญชัย จงกลนี(ม.ป.ป.:11-12) กล่าวถึงคุณลักษณะของนักบริหารที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  1. เฉลียวฉลาด แต่ไม่อวดฉลาด
  2. มีความสามารถรอบด้าน (Well rounder)
  3. มีพลังผลักดันภายใน (Inner drive) ให้กระตือรือร้นอยู่เสมอ
  4. ทำตนให้เป็นที่เชื่อถือ (Integrity)
  5. กล้าหาญทั้งกายและใจ (Courage physically and morally)
  6. มีความคิดริเริ่ม (Innitiative)
  7. รู้จักวิธีส่งเสริมและบำรุงขวัญผู้ใต้บังคับบัญชา
  8. การเสียสละปราศจากการเห็นแก่ตัว
  9. มีความยุติธรรม (Justice)
  10. วางตัวดี (Bearing)
  11. กระตุ้นให้ผู้น้อยมีความภูมิใจในงานของตน
  12. ให้เกียรติในผลงานที่ผู้น้อยได้ปฏิบัติ
  13. ปฏิบัติงานอย่างเป็นทีม ให้ทำงานแทนกันได้
  14. ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เหมาะสมกับความสามารถ และมีการพัฒนาฝีมือผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ

          เมื่อก้าวล่วงมาถึงยุคปัจจุบัน จากกระแสโลกาภิวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายประการคือ การปฏิรูปการศึกษา มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ ในการบริหารจัดการงานด้านการศึกษาต่างๆ หลั่งไหลเข้ามาในระบบโรงเรียนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง หากผู้บริหารจะยังคงยืนนิ่งอยู่ไปวันๆยึดสุภาษิต “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” หรือคติว่า อยู่เฉยๆรอดูเขาไปก่อนถ้าจำเป็นจริง  ก็ลอกเขาก็ได้แล้วละก้อ คงจะต้องจมน้ำตายหรือถูกกระแสน้ำพัดหายไปจากระบบในไม่ช้า ผู้แกร่งกล้าเท่านั้นที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างสมภาคภูมิ ได้รับการยอมรับและยกย่องจากวงสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องสร้างศักยภาพของตนเองให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์เพื่อให้สอดรับกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามความคาด หวังของสังคม

         ผู้บริหารเป็นผู้ที่ต้องทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์โดยอาศัยคนอื่น ดังนั้นผู้บริหารที่ ดีควรที่จะมีคุณสมบัติของผู้นำควบคู่ไปด้วย ดังนี้

        1.  มีภาวะผู้นำ มีศิลปะในการครองใจคน สามารถจูงใจคนให้เต็มใจร่วมมือหรือให้การสนับสนุน   เป็นนักประสานความาเข้าใจของทุกฝ่าย สามารถบริหารความขัดแย้งระหว่างบุคคลและประสานประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้

        2.  มีเมตตาธรรม  ไม่มีอคติ  หรือ ฉันทคติ  คือลำเอียงด้วยความชังหรือรัก  ไม่เอาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  การตำหนิหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาต้องลงโทษด้วยเมตตา  ไม่ใช่ด้วยอารมณ์โกรธแค้นส่วนตัว  นักบริหารที่เป็นผู้นำขององค์กรยังต้องรู้จักสละประโยชน์ส่านตน  เพื่อประโยชน์ส่วนรวมต้องรู้จักแสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานและลูกน้องในโอกาส อันสมควร  และสิ่งที่สมควรที่จะต้องมีอย่างยิ่งคือ  ความรู้จัดอดกลั้น  และอดทน  ทั้งทางอารมณ์และจิตใจ  สุดท้ายคือการรู้จักให้อภัย  ไม่อาฆาตแค้น  เรื่องที่แล้วก็ให้แล้วกันไป  ถ้าผู้บริหารมีเมตตาธรรมรู้จักให้อภัย  จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

        3.  ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง  ในการทำงาน  ถ้ามีหลักการที่ชัดเจน  การทำงานก็จะง่าย  สะดวกเร็วขึ้น  มีความเป็นธรรม  และตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำ

        4.  เป็นนักคิด  นักวิเคราะห์   นักบริหารที่ดีต้องคิดสร้างสรรค์ให้บังเกิดสิ่งที่เป็นไปได้  และ ต้องมีความสามารถในการจัดระบบความคิดให้เชื่อมโยง  มองถึงองค์กรรวมของปัญญาทั้งหมด  นอกจากการคิดอย่างมีระบบแล้วยังต้องรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ  ได้ชัดเจน  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        5.  มีการสร้างวิสัยทัศน์  นัก บริหารที่มีความสามารถต้องมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคตออก  และคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ  ด้วยสายตาที่กว้างไกล  จากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี  ด้วยการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  มองเห็นภาพรวมทั้งระบบ  ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์  ทันสมัย  จะช่วยกะเก็งเหตุการณ์ในอนาคตได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น  และสามารถตัดสินใจดำเนินการบริหารองค์กรให้เป็นในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม ได้

        6.  มีทักษะหลายด้าน  นอกจากจะเป็นนักคิด  นักวิเคราะห์  ยังต้องมีทักษะในเรื่องต่อไปนี้

  • ทักษะในการตัดสินใจ  ต้องมีการจัดการที่ดี  มีทีมงานที่แข็งแกร่ง   มีข้อมูลที่ถูกต้องมากพอและทันสมัย  รู้จักรุก  ในโอกาสและจังหวะเวลาที่ดีและเหมาะสม   รู้จักรอ  เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่สมควร
  • ทักษะในการวางแผน  ทั้งแผนขององค์กร (แผนแม่บท)  และแผนกลยุทธ์  เป็นยุทธศาสตร์ที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์  โดยกำหนดทิศทางและวิธีการทำงานไว้ล่วงหน้า  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเดินตามแนวทางทีกำหนดไว้ได้โดยสะดวก  มีการกำหนดแผนระยะสั้น  ระยะยาว  เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ในแต่ละขณะได้ อย่างเหมาะสมลงตัว
  • ทักษะในการจัดองค์กร  กำหนดโครงสร้างขององค์กรให้มีรูปแบบเหมาะสมกับพันธกิจและภารกิจขององค์กร  วางตนให้เหมาะสมกับงานที่ถนัด  สร้างทีมงานที่ดี  ขจัดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานด้วยวิธีละมุนละม่อม  บางครั้งอาจต้องใช้ความเด็ดเดี่ยว เฉียบขาด ก็ต้องทำ
  • ทักษะในการแก้ไขปัญหา  พึงระลึกไว้เสมอว่า  ปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน  จึงเป็นเรื่องธรรมดา  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ดูว่าปัญหาใดเป็นปัญหาหลัก ปัญหาใดเป็นปัญหารอง  ปัญหาใดสำคัญเร่งด่วน  ที่สำคัญ  ผู้บริหารต้องไม่กระทำตัวเป็นปัญหาเสียเอง
  • ทักษะในการสร้างทีมงาน ต้องสามารถสร้างทีมงานที่ดี มีฝีมือให้เหมาะสมในแต่ด้าน  จัดมือทำงานไว้เป็นสตาฟท์ (Staff)  ช่วยคิด  ช่วยกลั่นกรองงาน              

         7. รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย  เพราะการมีข้อมูลที่ดี  ช่วยให้การตัดสินใจถูกแม่นยำขึ้น จึงต้องรู้ลึก  รู้รอบ  รู้กว้าง  รู้ไกล  กระตือรือร้นอยู่เสมอ  เป็นนักอ่าน  ขยันใฝ่หาความรู้  ช่างสังเกต  รู้จักฟัง

         8. รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ทันสมัย   รู้ ว่าขณะนี้ตนเป็นใคร  มีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร  เพื่อที่จะสวมบทบาท  และแสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ไม่เข้าไปก้าวก่ายงานในหน้าที่รับผิดชอบของคนอื่น

         9. กล้าตัดสินใจ  ในหลักวิชาการบริหาร  กล่าวกันว่า  สิ่งที่ยากที่สุดของนักบริหารคือ  การตัดสินใจ  แม้จะมีข้อมูลครบถ้วนในมือแต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจ  เพราะขาดความมั่นใจ  กลัวที่จะต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น  องค์กรใดที่มีผู้บริหารแบบนี้องค์กรนั้นคงเจริญเติบโตได้ยาก  มองไม่เห็นอนาคตด้านความเจริญก้าวหน้า

        10. มียุทธวิธีและเทคนิค  กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานส่วนเทคนิคจะช่วย ประหยัดเวลา  และทรัพยากรอื่น ๆ มิให้สิ้นเปลือง  เทคนิคที่ดีไม่ควรมีความสลับซับซ้อนมากเกินไป  สามารถเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้ 
        11. รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น  จะช่วยลดความขัดแย้งและขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้มาก

        12. รู้จักการเจรจาต่อรอง  ไม่เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว  ไม่มีใครได้ทั้งหมด  และต้องไม่ใครเสียทั้งหมดต้องได้ทั้งสองฝ่าย  (Win – Win) บางครั้งต้องรู้จัก แพ้เพื่อชนะ

        13. ประสานงานเป็นและประสานประโยชน์ได้    การสร้างสัมพันธภาพอย่างไม่เป็นทางการ  มีความสำเร็จขององค์กรอย่างสูง  ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย  ย่นระยะเวลา  ลดพิธีกรรมรูปแบบต่าง ๆ

        14. รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า   นับตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์  วัสดุอุปกรณ์  ทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งเวลาเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนในการทำงาน

        15. เป็นนักประชาธิปไตย  นักบริหารต้องใจกว้างพอจะยอมรับความแตกต่างทางความคิด  และต้องอยู่ท่ามกลางความแตกต่างให้ได้  พร้อมทั้งต้องพยายามประสานความค่างนั้นให้เกิดประโยชน์เชิงสร้างสรรค์

        16. กระจายอำนาจเป็น  โดยดูจากการกระจายอำนาจหน้าที่  และความรู้ผิดชอบไปสู่มือทำงานเพื่องานจะได้สำเร็จลุล่วง  เรียบร้อย  รวดเร็ว  มอบหมายงานที่มีความสำคัญให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาให้เขารู้จักผิดชอบ สูงขึ้น  เปิดโอกาสให้เขาเป็นเจ้าของงานและตัดสินใจในงานชิ้นสำคัญ ๆ ให้ความรู้สึกในด้านจิตวิทยา  ให้โอกาสและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความริเริ่มสร้างสร้างในสิ่งใหม่ ๆ และเป็นประโยชน์

         17. รู้จักทำงานในเชิงรุก  มุ่งผลงานในเนื้องานเป็นหลักมากว่ารูปแบบหรือพิธีการ  เป็นฝ่ายเริ่มต้นกระทำก่อนในสิ่งที่ถูกต้อง  และจำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จ

         18. พิจารณาคนเป็น  นักบริหารต้องเชื่อในความสามารถของคนอื่นด้วย  มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพและความสามารถในทางใดทางหนึ่งเสมอ  นักบริหารที่มีความสามารถจึงต้องมองคนให้เป็นใช้คนให้ถูก  ใช้ให้ถูกคนและถูกงาน  ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องของส่วนรวมโดยเด็ดขาดสังคมไทยมักจะแยกไม่ ค่อยออก

          19. โปร่งใสและตรวจสอบได้  เป็นหนึ่งในการบริหารการจัดการที่ดี (good governance) แสดงถึงความสุจริตใจในการทำงาน  ต้องเปิดเผย  ชัดเจน  ตรงไปตรงมา  ตอบคำถามของสังคมได้

          20. รู้จักควรไม่ควร  รู้จักความพอดี  เป็นเรื่องยากที่จะบอกอย่างไรจึงพอดี  ขึ้นอยู่กับสติปัญญาวิจารณญาณและประสบการณ์ของแต่ละคน  ที่จะเรียนรู้ความพอเหมาะพอดี  ต้องรู้จักงาน  รู้จักดี   รู้จักชั่ว  แยกแยะออกได้อย่างชัดเจน

          บทบาทของผู้บริหารนั้นจะต้องใช้ศาสตร์และ ศิลป์ในการบริหารเพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานหรือสถาบันนั้นๆให้บรรลุ จุดมุ่งหมายขององค์การโดยอาศัยหน้าที่ทางการบริหารที่สำคัญ   คือการวางแผน(Planning)  การจัดการองค์การ(Organizing) การนำ(Leading) และการควบคุม(Controlling)การบริหารโรงเรียนเป็นการดำเนินงานที่มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพซึ่งเป็นหน้าที่ ของผู้บริหารโรงเรียนที่จะดำเนินการตามบทบาทและหน้าที่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว  การบริหารโรงเรียนเป็นการร่วมมือกันทำงานของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ จัดการศึกษาเพื่อให้โรงเรียนมีคุณภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์กับการศึกษามากที่สุดผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถทักษะทัศนคติค่านิยม คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหารมีภาวะผู้นำสามารถบริหารโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมาย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

ที่มา    http://learners.in.th/blog/pairath1144/385237