Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » ปัญหาภายหลังการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ปัญหาภายหลังการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร


การตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว - วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2556

         หลายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยังคงค้างคา และดูเหมือนเป็นเรื่องยากที่จะหาทางออกได้ แม้ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยเป็นผู้ดูแลสาธารณูปโภคและพื้นที่ส่วนกลางภายในโครงการเอง แต่ก็มีปัญหารูปแบบใหม่เกิดขึ้นตามมา

         สำหรับผู้ซื้อบ้านจัดสรร เรื่องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้ และต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพื่อปรับใช้ในการอาศัยอยู่ร่วมกันภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรร

         การหาตัวแทนของผู้อยู่อาศัยเข้าไปทำหน้าที่จัดตั้งนิติบุคคล บริหารจัดการงานในฐานะเป็นนิติบุคคล การพิจารณาเบิกจ่ายเงินต่าง ๆ ที่เหมาะสม (ซึ่งคำว่าเหมาะสมของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากันนะครับ)

         เรื่องของความเหมาะสมที่ไม่เท่ากันนี้เอง มักเกิดปัญหาขึ้นภายหลังการจัดตั้งนิติบุคคล และลูกบ้านรับหน้าที่ดูแลกันเองแล้วเกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้จ่ายเงินกองทุนส่วนกลาง ซึ่งมีทั้งใช้มากเกินไป และประหยัดเกินไป เพราะเกรงว่าจะถูกตรวจสอบ

         ภายหลังตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว ปัญหาเรื่องจัดเก็บเงินค่าส่วนกลางได้ไม่ครบ ปัญหาเรื่องรายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ดูเหมือนว่าสูงเกินจริง และจำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้จ่ายเงินนั้น มักจะเป็นปัญหาแรก ๆ ที่พบ (ในบางโครงการลดค่าใช้จ่าย เช่น การลดจำนวนยามรักษาความปลอดภัยลง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องของโจรขโมยเข้ามาแทนที่ได้

         ปัญหาเรื่องการลดจำนวนไฟส่องสว่างในโครงการ ทำให้มีจุดอับ จุดบอดของแสงสว่าง ก่อให้เกิดอันตรายภายในหมู่บ้านได้เช่นกัน

         ปัญหาเรื่องสาธารณูปโภคที่ไม่เหมือนเดิม ถนนแตกหักชำรุด ระบบท่อน้ำและอื่น ๆ เริ่มมีปัญหา ปัญหาเรื่องการหาคนรับผิดชอบ เรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม (เจ้าของโครงการไม่ยอมโอนสาธารณูปโภคให้ เนื่องจากยังขายโครงการไม่หมด หรือต้องการใช้สาธารณูปโภค เพื่อสร้างบ้านในโซนอื่น ๆ) ทำให้ผู้ซื้อบ้านจัดสรรไม่พอใจ จนเมื่อถึงเวลาที่เจ้าของโครงการพร้อมโอน แต่ผู้ซื้อบ้านจัดสรรกลับไม่พร้อมรับเสียแล้ว

         เรื่องช่วงระยะเวลาในการโอนสาธารณูปโภคที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยนะครับ เพราะจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังการจัดตั้งนิติบุคคลแล้วแทนทั้งสิ้น การแก้ปัญหาดังกล่าวก็คงไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน แต่ทางที่ดีที่สุดคือการพูดคุยเจรจาตกลงกันระหว่างผู้ซื้อบ้านจัดสรรกับเจ้าของโครงการจะเป็นการดีกว่า


         ดังนั้นเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคล การดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง จึงเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อบ้านจัดสรรจะต้องให้ความสำคัญ ควรศึกษาตั้งแต่แรกเริ่มก่อนการซื้อโครงการว่าความสวยงามภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรร มีความเป็นไปได้ตามที่โฆษณามากน้อยเพียงใด ผู้ซื้อบ้านจัดสรรควรศึกษาเรื่องนี้ให้ดี และใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรด้วยนะครับ.

ดินสอพอง ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/950/203494