Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » การเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร


การเสียภาษี ของนิติฯบ้านจัดสรร

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556

         เรื่องของการเสียภาษีเงินได้ และการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น หากเป็นกรณีที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีรายได้อื่นในลักษณะของค่าเช่าค่าบริการที่จัดเก็บจากบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่สมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว หรือมีรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าเช่าที่ดิน เพื่อทำตลาดนัด ค่าเช่าสถานที่ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า หรือบริการต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านจัดสรรเป็นต้น

         รายได้จากค่าเช่าค่าบริการดังกล่าวไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่ต้องนำรายได้จากค่าเช่าค่าบริการนั้น ๆ มารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้ค่าบริการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีจะต้องไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี (ตามปีปฏิทิน) ตามข้อยกเว้นสำหรับกิจการขนาดย่อมแล้ว

         กรณีฐานภาษีมีจำนวนเกินกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่ต้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานภาษีรายได้ ค่าบริการจัดเก็บจากบุคคลอื่น และนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นับจากเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเกิดขึ้น

          นอกจากนี้ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยังมีหน้าที่จัดทำรายงานกิจการ งบดุล บัญชีรายรับรายจ่ายซึ่งผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้วต่อกรมที่ดินในจังหวัดภายใน 3 เดือนนับวันแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีและประกาศรายงานดังกล่าวโดยเปิดเผยให้สมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบโดยทั่วกัน พร้อมทั้งจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชี (ตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูป โภค และการจัดทำบัญชี)

          โดยแสดงงบรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนเก็บไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงาน ออกหลักฐานเป็นหนังสือให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งและเก็บสำเนาเก็บไว้อย่างน้อยหนึ่งฉบับโดยต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ชื่อของสำนัก งานผู้รับชำระเงิน, วัน เดือน ปี ที่รับเงิน, ชื่อผู้ชำระเงิน, จำนวนเงินที่รับชำระทั้งตัวเลขและตัวอักษร, ข้อความที่ระบุว่าได้มีการรับเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือนใดไว้เป็นการถูกต้อง, ข้อความที่ระบุว่าได้มีการรับเงินค่าปรับประจำเดือนใดไว้เป็นการถูกต้อง (ถ้ามี), ลายมือชื่อผู้รับเงิน พร้อมตราประทับ (ถ้ามี)

         ทั้งนี้หลักเกณฑ์และข้อกำหนดทางกฎหมายในการควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่ายังมีข้อบกพร่องอยู่มาก ควรน่าจะมีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้รัดกุมและสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติทางบัญชีของนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ ด้วยเช่น ห้างหุ้นส่วน/บริษัท จำกัดตามประมวลรัษฎากร หรือนิติบุคคลอาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด ก็น่าจะเป็นการดีกว่านะครับ.


ดินสอพอง http://www.dailynews.co.th/article/950/186273