Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » การปรับปรุงต่อเติมเปลี่ยนแปลงบ้าน กรณีไหนต้องแจ้งพนักงานท้องถิ่น

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การปรับปรุงต่อเติมเปลี่ยนแปลงบ้าน กรณีไหนต้องแจ้งพนักงานท้องถิ่น

'ต่อเติมบ้าน' ต้องแจ้งหรือไม่อยุ่ที่หลายปัจจัย

กฎหมายรอบรั้ว dailynews.co.th วันที่ 28 เมษายน 2555

      เป็นเรื่องปกติสำหรับการปรับปรุงต่อเติมและเปลี่ยนแปลงบ้านหลังจากอยู่อาศัยไปได้สักระยะ แต่หากปรับเปลี่ยนสุ่มสี่สุ่มห้าอาจทำผิดกฎหมายและต้องรับโทษ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กฎหมายหลักในการควบคุมการก่อสร้างอาคารกำหนดให้ผู้ที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน หรือให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมทั้งดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก็เป็นอันใช้ได้ กฎหมายบอกว่าการกระทำดังต่อไปนี้ (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11) ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร คือ

      การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หรือที่เรียกกันว่าโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา คาน หากมีการชำรุดเพราะปลวกกินและจำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การใช้ไม้เช่นเดิม จำนวนและขนาดเท่าเดิมก็ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร แต่หากเปลี่ยนเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ต้องขออนุญาตก่อนแม้จะใช้วัสดุอุปกรณ์ ขนาด จำนวนเท่ากันก็ตาม

      การเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกินร้อยละสิบ เช่น พื้น ผนัง จากเดิมเคยเป็นพื้นปาร์เกต์ เปลี่ยนเป็นพื้นหินอ่อน หินแกรนิต ต้องคำนวณน้ำหนักว่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละสิบหรือไม่ หากเกินก็ต้องขออนุญาตการเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ส่วนต่าง ๆ ที่ไม่เป็นโครงสร้าง และไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างของอาคารเดิม ส่วนหนึ่งส่วนใด เกินร้อยละสิบ หรือเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแบบของพื้นที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้าน และไม่ก่อให้เกิดน้ำหนักเพิ่มแต่อย่างใด เช่น การเปลี่ยนแบบประตู หน้าต่าง เปลี่ยนลายกระเบื้อง ไม่ต้องยื่นขออนุญาต

      การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่ง หากรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน เช่น มีการเจาะพื้นบ้านเป็นช่องเพื่อระบายอากาศ อย่างนี้ไม่ต้องยื่นขออนุญาตครับ เป็นต้น

      การต่อเติมบ้านจะต้องพิจารณาว่า หากเข้าข่ายและยื่นขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ก็ถือว่าได้ทำถูกต้องตามกฎหมายเบื้องต้นแล้วครับ ส่วนรายละเอียดการดัดแปลง ก่อสร้างอื่น ๆ คงต้องพิจารณากันเป็นกรณีไป โดยเฉพาะการต่อเติมครัวที่นิยมทำกันแทบทุกหลังเข้าข่ายดัดแปลง ฉะนั้นปฏิบัติตามกฎหมายไว้ก่อนเป็นดีที่สุด.


ดินสอพอง
ที่มา 
http://www.dailynews.co.th/article/950/103960