Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » หมู่บ้านจัดสรร จำเป็นต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
หมู่บ้านจัดสรร จำเป็นต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

นิติฯหมู่บ้านสิ่งจำเป็นที่ต้องมี

กฎหมายรอบรั้ว dailynews.co.th วันที่ 14 เมษายน 2555

         ปัจจุบันมีหมู่บ้านจัดสรรหลายโครงการต้องการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีอุปสรรค และติดขัดปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะการไม่สามารถรวมตัวกันอย่างจริงจังของสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรร รวมถึงเรื่องคะแนนเสียงจากการลงมติของที่ประชุมใหญ่ก็มีไม่ถึงกึ่งหนึ่ง

         นอกจากนี้สมาชิกจำนวนไม่น้อยยังเคยชินกับการอยู่อาศัยในโครงการฟรี (ไม่ต้องจ่าย หรือจ่ายค่าส่วนกลางในจำนวนที่ไม่มากนัก) แต่หากมีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว กฎหมายได้กำหนดบทลงโทษกับสมาชิกที่ค้างชำระค่าสาธารณูปโภคไว้หลายระดับ เช่น การถูกระงับบริการต่าง ๆ หรือแม้แต่การถูกอายัดห้ามโอน รวมถึงอาจถูกฟ้องร้องและบังคับคดีกับบ้านพร้อมที่ดินที่ค้างชำระค่าส่วนกลางได้ เป็นต้น

         แต่ก็ยังมีโครงการบ้านจัดสรรจำนวนไม่น้อยไม่สามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ เนื่องจากผู้ประกอบการพยายามมองข้ามข้อดีของกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในโครงการที่จะต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องการใช้ระบบสาธารณูปโภคบางอย่างร่วมกัน ทั้ง ๆ ที่การจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรรนั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการไม่ต้องรับภาระในการดูแลสาธารณูปโภค (ภาระดังกล่าวจะตกเป็นของสมาชิกหรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นเอง)

         โครงการหมู่บ้านจัดสรร มีทางเลือกมากมายในการบริหารจัดการภายในหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่ แต่ก็ยังมีหมู่บ้านจัดสรรอีกจำนวนมากที่ต้องการมืออาชีพเข้าไปช่วยทำงาน โดยเฉพาะโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการกันเอง เช่น ความไม่โปร่งใสในการทำงานของคณะกรรมการ รวมถึงการไม่ยอมให้ความร่วมมือของสมาชิกภายในหมู่บ้านจัดสรรกันเองด้วย

          ทั้งนี้
การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น จะต้องมีการรวมตัวกันในหมู่สมาชิกให้ได้เสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ซื้อที่ดินทั้งหมด แล้วยื่นจดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดินที่รับผิดชอบ  วิธีนี้สามารถเลือกตั้งกรรมการขึ้นมาบริหาร หรือจะว่าจ้างบริษัทเข้ามาทำหน้าที่บริหารหมู่บ้านจัดสรรแทนก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรไม่ต้องการจ่ายค่าบำรุงสาธารณูปโภค ผู้ประกอบการก็สามารถโอนสาธารณูปโภคในโครงการบ้านจัดสรรให้เป็นที่สาธารณสมบัติ โดยการโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. หรือทางเขต เพื่อให้เข้ามารับผิดชอบแทนก็ได้ แต่วิธีนี้จะทำให้ชุมชนกลายเป็นที่สาธารณะ เป็นที่ของส่วนรวมที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้นะครับ.

ดินสอพอง
ที่มา  http://www.dailynews.co.th/article/950/22138