Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » ก่อนซื้อบ้านจัดสรร ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ก่อนซื้อบ้านจัดสรร ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง

วันเสาร์ ที่  20 สิงหาคม 2554  :  กฎหมายรอบรั้ว

ก่อนซื้อบ้านจัดสรรต้อง...?

          าม พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้ผู้ประกอบการจัดสรรที่ดินที่มีการแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดจำหน่าย  ตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป จะต้องยื่นขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต่อคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน ตามท้องที่ ณ ที่ดินจัดสรรนั้นตั้งอยู่ ซึ่งเป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการจัดสรรที่ดินต้องจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ถนน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ ประปา ไฟฟ้า สวนสาธารณะ ฯลฯ ตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการคุ้มครองผู้จะซื้อส่วนหนึ่งโดยผู้ซื้อ   มีสิทธิขอตรวจสอบใบอนุญาตจัดสรรที่ดินได้จากผู้ประกอบการ หรืออาจขอตรวจสอบได้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด ณ ที่โครงการ  นั้น ๆ ตั้งอยู่

         อกจากนี้ควรตรวจสอบว่าโครงการนั้น ๆ ได้รับการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนเดียวกับที่ได้กระทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการที่ผู้ประกอบการมีการแยกทำสัญญาจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารไว้เป็นคนละฉบับ ผู้ซื้อควรให้ผู้ประกอบการได้แนบแบบแปลนที่ขออนุญาต และสำเนาใบอนุญาตก่อสร้างไว้ท้ายสัญญาที่จะทำขึ้นจะดีกว่า

         รื่องของขนาดและผังโครงการ ผู้ซื้อจะต้องพิจารณาสภาพของการอยู่อาศัยว่ามีความเหมาะสมกับขนาดของโครงการหรือไม่ โดยปัจจุบันคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสาธารณูปโภคที่ต้องจัดให้มีในที่ดินจัดสรรไว้

         รื่องของที่ตั้งโครงการก็สำคัญ ผู้ซื้อจะต้องตรวจสอบว่าพื้นที่ตั้งโครงการนั้นไม่มีน้ำท่วมขัง หรือไม่ก็ต้องมีการปรับระดับพื้นที่ให้สูงกว่าพื้นผิวของถนนสาธารณะด้านนอกโครงการ ซึ่งการตรวจสอบนั้นผู้ซื้ออาจใช้วิธีสังเกตได้จากเสาไฟฟ้า หรือรั้วบ้านดั้งเดิมในบริเวณนั้น ๆ

         รื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เป็นทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น สโมสร สระว่ายน้ำ ฯลฯ ว่ามีความจำเป็นต้องใช้มากน้อยเพียงใด เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ผู้ประกอบการมักจะบวกกลับมาเป็นต้นทุนของราคาขายบ้าน ทำให้บ้านมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อภายหลังเมื่อผู้ประกอบการได้มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนิติบุคคลโครงการบ้านจัดสรร ก็จะกลายเป็นภาระที่ผู้ซื้อต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ

        ละที่สำคัญคือ ความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ การตรวจสอบ สามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่นสอบถามจากผู้อยู่อาศัยในโครงการเก่าที่ผู้ประกอบการนั้นดำเนินการมาก่อน หรือตรวจสอบจากรายชื่อผู้ประกอบการที่ถูกขึ้นบัญชีดำไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ได้นะครับ เพื่อจะได้มั่นใจว่าผู้ซื้อบ้านจะได้บ้านอยู่อาศัยจริง ไม่ใช่ได้เพียงกระดาษ และต้องไปฟ้องร้องเพื่อเรียกเงินคืนในภายหลังนะครับ.


 

ดินสอพอง
ที่มา