Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม (คู่มือน้ำท่วมฉบับเต็ม+ฉบับย่อ+ฉบับการ์ตูน+ฉบับแอนิเมชั่น) e-book & Download

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม (คู่มือน้ำท่วมฉบับเต็ม+ฉบับย่อ+ฉบับการ์ตูน+ฉบับแอนิเมชั่น) e-book & Download

Condo&House Software โปรแกรมบัญชีนิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรร ที่มีผู้ใช้มากที่สุด SoftbizPlus.com

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม
ฉบับเต็ม
คู่มือ รับ 'น้ำท่วม'
ฉบับย่อ
รับมือน้ำท่วม..ไม่อยาก
ฉบับการ์ตูน
รวมความรู้สู้น้ำท่วม
ฉบับแอนนิเมชั่น

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม ฉบับเต็ม

ปก,คำนำ

เตรียมก่อนน้ำท่วม

รับมือระหว่างน้ำท่วม

ปฏิบัติหลังน้ำท่วม

โรคที่มากับน้ำท่วม

การเตือนภัยน้ำท่วม

 
Download   :   คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม ebook
 
     Link & download (ต้นฉบับล่าสุด) http://cendru.eng.cmu.ac.th/?q=flood-preparedness

บทความเพิ่มเติม : คู่มือ รับมือน้ำท่วม..ไม่อยาก (ฉบับการ์ตูน) , รวมบทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด , คลิป แอนนิเมชั่น , ฉบับย่อ

คู่มือรับ “น้ำท่วม” ฉบับย่อ

          สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สร้างความวิตกให้กับคนกรุงเทพฯ ไม่น้อย แต่หากประชาชนมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม ก็จะช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนน้ำท่วม

  1. ตรวจสอบข้อมูลเรื่องน้ำท่วมที่เคยเกิดในละแวกบ้านหรือพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อคาดการณ์และเตรียมตัวได้ถูก
  2. วางแผนและตรวจสอบสถานที่และเส้นทางสำหรับการอพยพ
  3. เตรียมอุปกรณ์สื่อสาร สำรองแบตเตอรี่โทรศัพท์ ไฟฉายพร้อมถ่าน
  4. เตรียมวัสดุอุดปิดป้องกันบ้านเรือน เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน
  5. นำยานพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม
  6. ย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง ส่วนของใช้ขนาดใหญ่ หาอิฐหรือไม้หนุนให้สูงขึ้นจากพื้น
  7. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุฉุกเฉิน
  8. เตรียมถุงยังชีพบรรจุของใช้ที่จำเป็นพร้อมเสบียงอาหาร และยาประจำตัวอย่างน้อย 3 วัน ในกรณีที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่
  9. เก็บของมีค่าไว้ในที่ปลอดภัย และบันทึกรายการทรัพย์สินหรือถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน
  10. ให้คำแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่บุตรหลาน เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า แจ้งสถานที่ที่นัดพบเมื่อเกิดการพลัดหลง

ข้อควรปฏิบัติระหว่างน้ำท่วม

• เมื่ออยู่ภายในบ้าน

  1. ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท ตัดระบบไฟฟ้า ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดภายในบ้าน ห้ามสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า
  2. ระวังสัตว์อันตรายที่มากับน้ำ เช่น งู ตะขาบ
  3. เดินอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีอันตรายจากโคลนที่ทำให้ลื่น หรือเศษวัสดุของมีคมที่ลอยมากับน้ำ
  4. ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสกับน้ำ

• หากอยู่นอกบ้าน

  1. ห้าม เดินตามเส้นทางที่น้ำไหล เนื่องจากหากกระแสน้ำแรงอาจพัดพาไปได้ หากจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองใช้ไม้จุ่ม เพื่อวัดระดับน้ำก่อนทุกครั้ง
  2. ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังเกิดน้ำท่วม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะจมน้ำ นอกจากจะทำให้รถเสียหายแล้วอาจอันตรายถึงชีวิตได้
  3. ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า เนื่องจากหากมีไฟฟ้ารั่ว อาจถูกไฟดูดได้

การฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

  1. เดินตรวจตรารอบๆ บ้าน และเช็กสายไฟฟ้า สายถังแก๊ส หากเกิดแก๊สรั่วให้ระวังและรีบแจ้งร้านตัวแทนจำหน่าย
  2. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าปลอดภัย หากเสียหาย ให้รีบซ่อมแซม
  3. พักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ ดูแลสุขภาพและสร้างความอบอุ่นในครอบครัวที่จะช่วยเยียวยารักษาได้ดี
  4. พูดคุยปัญหากับเพื่อนและครอบครัว เพื่อช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
  5. ดูแลเด็กๆ ให้ดี และโปรดเข้าใจว่าเด็กก็มีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน อย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น
  6. ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะติดผู้ปกครองอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเด็กเพิ่งผ่านเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต
  7. ระวังเรื่องสุขอนามัย และโรคภัยที่มากับน้ำท่วม เช่น น้ำกัดเท้า ตาแดง ท้องร่วง

Link ( e-book pdf) www.bangkokgis.com/flood/download/handbook.pdf

ที่มา:
หน่วยวิจัยภัยพิบัติธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม

          เหตุการณ์ อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่น้ำท่วม โดยทางรัฐและหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องกรทำการป้องกันและฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญก่อน อาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้อย่างทันที ดังนั้นประชาชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการ์น้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัยที่จะเกิดขึ้นได้                       

การเตรียมการก่อนน้ำท่วม

           การป้องกันตัวเองและความสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้มีการเตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ  รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้
            - ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร
            - เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
            - เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
            - เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
            - ถนนเส้นใดบ้าง ในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไป

            1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
            2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขี้นตอนการอพยพ
            3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
            4. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่สำรอง
            5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้
            6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
            7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
            8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย
            9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ถายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
          10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่างทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
          11. เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
          12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตุได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ

ถ้าคุณคือพ่อแม่

           - ทำหารซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
           - ต้องการทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
           - ต้องการทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานเรียนอยู่
           - เตรีมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
           - จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกันน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
           - ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน

 

การทำแผนรับมือน้ำท่วม

           การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าว มา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย

 

ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย :

สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน
           - สัญญาเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์
           - รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง

ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม

ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

          1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตุการณ์
          2.
การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม
          3.
การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
          4. ภ
าวะปกติ : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

          1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว
          2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
                  - ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
                  - อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
                  - อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเสณน้ำหลาก
          3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
          4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
          5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง
             
ควรปฎิบัติดังนี้
                 - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
                 - อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
                 - พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
                 - อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
                 - ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
               - ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
          6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง

               - อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน

          7. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
              - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
              - ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
              - เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
              - ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

น้ำท่วมฉับพลัน

           คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
            - ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
            - ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
            - อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม

 

ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
            มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง

- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
            การ ขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้

- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย :
           กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หลังน้ำท่วม

3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรก ๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม

ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง

            หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติอย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้าน เรือน ได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับบ้านเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

            1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
            2. พูดคุยปัญหากลับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
            3. ผักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ
            4. จัดรำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อย ๆ ทำ
            5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้
            6. ดูแลเด็กๆให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแลก ๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรืเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กพึ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต
           7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม

ขั้นตอนที่ 2 การจัดการดูแลบ้านของคุณ

           ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลดสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
          1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์
          2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
          3.เดินตรวจตารอบ ๆ บ้าน และเซ็คสายไฟฟ้า สายถังแก็สโดยถ้าหากเกิดแก็สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก็สให้ระวังและรีบ โทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
          4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
          5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
          6.ปิดวาล์วแก็สให้สนิทหากได้กลิ่นแก็สรั่วก่อไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
          7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง แลพอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
          8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
          9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ
        10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
         11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
         12.เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
         13.ตรวจ หารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำถ้าพบให้ปิดวาฃ์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
          14 ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรืพื้นห้องใต้ดิน
          15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำเนื่องจากเซื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

โรคที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน

           เกิด ขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิว ๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิวมาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัด เท้าขึ้น
โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้

ไข้หวัด

          ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง

โรคเครียดวิตกกังวล

           ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย

โรคตาแดง

           โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

โรคอุจาจระร่วง

           โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)

แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม

หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม

หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช
     - หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ
     - ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา” เลขบัญชี 301-0-86149-4

2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา
      - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา
      - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง
      - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก
      - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา” เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

4. กรมอุตุนิยมวิทยา
       - เว็บไซต์ tmd.go.th
       - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182
       - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394
        - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252
        - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9
        - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477
        - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549
        - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421

5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
        - เว็บไซต์ disaster.go.th
        - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
         - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่

6. กรุงเทพมหานคร

         - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858
 

7. สภากาชาดไทย

        - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
        - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
        - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976
        - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

ข้อมูลจาก  http://www.cendru.net

                           Download pdf file