Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » เทคนิคการเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำท่วมที่ใกล้ตัว เพื่อความอยู่รอดของชีวิตและทรัพย์สิน (คู่มือ ทำผ้าอนามัย ส้วม หุ้มรถ ขนตู้เย็น อุดบ้าน น้ำดื่ม ) + เพิ่มเติม

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
เทคนิคการเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำท่วมที่ใกล้ตัว เพื่อความอยู่รอดของชีวิตและทรัพย์สิน (คู่มือ ทำผ้าอนามัย ส้วม หุ้มรถ ขนตู้เย็น อุดบ้าน น้ำดื่ม ) + เพิ่มเติม

คู่มือ 'ทำผ้าอนามัย ส้วม หุ้มรถ ขนตู้เย็น อุดบ้าน น้ำดื่ม' รอดตายน้ำท่วม

ไทยรัฐออนไลน์  22 ตุลาคม 2554

ตื่นตัวกันมากขึ้น เพราะน้ำเริ่มใกล้ตัวเข้ามาทุกที ในสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ค เลยหาวิธีเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมให้ทุกคนได้ลองนำไปใช้เพื่อการป้องกันทรัพย์สินที่อาจจะถูกน้ำทำความเสียหาย รวมไปถึงวิธีการอยู่รอดหลายแบบ ที่สามารถช่วยคุณได้ในยามคับขัน

ใครว่าโซเชียลเน็ตเวิร์ตจะมีแต่เรื่องไร้สาระเสมอไป เรื่องดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมก็มีให้เห็นไม่น้อยทีเดียว อย่างช่วงนี้สถานการณ์น้ำท่วมที่ยังลุ้นๆกันอยู่ว่าบ้านใครจะท่วม ไม่ท่วม หรือท่วมไปแล้ว ก็มีเทคนิคการเตรียมความพร้อมรับมือกับน้ำท่วมที่ใกล้ตัว เพื่อความอยู่รอดของชีวิตและทรัพย์สิน วันนี้ 'ไทยรัฐออนไลน์' ได้รวบรวมเทคนิคต่างๆ ไว้เป็นคู่มือกันภัยน้ำท่วมที่ในโซเชียลเน็ตเวิร์คได้แชร์กันไว้หลายวิธี

เตรียมความพร้อมด้วยกระเป๋ายังชีพ

จัดแจงให้ดูแบบละเอียดยิบที่เว็บไซด์ของเครือข่ายจิตอาสา ซึ่งเตือนผู้ที่กำลังจะเจอน้ำท่วมเตรียมแพ็คของสำคัญใส่กระเป๋ายังชีพก่อน เพราะต้องพกติดตัวในยามจำเป็น ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมนั้นก็มีทั้งไฟฉาย, ถ่านสำรอง, มีดพับ, เป้พับ, แว่นขยาย, ไฟแช็ค, เชื่อกร่มยาวประมาณ 5 เมตร, พาราเซตามอล, ยาหม่องน้ำ, ของใช้สำหรับทำความสะอาดร่างกาย, ถุงกันน้ำ, ถุงขยะ, ถุงพลาสติก, นกหวีด, เสื้อกันฝน, หมวก, เสื้อผ้าสำรอง 2-3 ชุด, และผ้าเช็ดตัว ทั้งหมดนี้จะใส่กระเป๋าเป้ด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ห้ามลืมแม้แต่อย่างเดียว

ข้อมูลจากwww.volunteerspirit.org

 

ของจำเป็นยามน้ำท่วม

  

เตรียมตัว ก่อนน้ำมาถึง

  

ป้องกันคอมพิวเตอร์จากน้ำท่วม

ของคู่ใจอย่างอุปกรณ์อิเล็กโทรนนิคส์ต่างๆ ทั้งโทรศัพท์, โน๊ตบุค, ไอแพด อาจเคลื่อนย้ายได้สะดวกเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม แต่สำหรับคอมพิวเตอร์แบบพีซีแล้ว สิ่งที่ต้องรีบทำที่สุดก็คือขนย้ายขึ้นไว้ในที่สูง เช่นหลังตู้เสื้อผ้าหรือชั้นสองของบ้านเพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าในบ้านน้ำท่วมสูงจนอยู่ไม่ได้ การขนย้ายคอมพิวเตอร์ออกต้องหาถุงพลาสติกที่แน่ใจว่าไม่มีรอยรั่วให้น้ำเข้ามาได้ จากนั้นคุลมทับให้เรียบร้อย และระหว่างขนย้ายอดทนยกไว้สูงเหนือหัวเพื่อไม่ให้ถูกน้ำ โดยเฉพาะที่ปลั๊กไฟ เพื่อความปลอดภัย และกันความเสียหายที่จะตามมา

  
ข้อมูลจาก www.manacomputers.com/how-to-computers-protect-from-flood-damage

 

แปลงร่างถุงยังชีพเป็นเสื้อชูชีพ

ครอบครัวไหนที่มีเด็กเล็ก สัตว์เลี้ยง หรือตัวคุณเองว่ายน้ำไม่ค่อยเก่ง แต่ดันต้องมาเจอกับน้ำท่วมที่สูงเกินกว่าเท้าจะแตะถึงพื้น ก็ต้องเตรียมเสื้อชูชีพให้พร้อม เพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าเสื้อมีไม่พอลองหากระบอกน้ำเปล่ากับถุงยังชีพที่ได้รับบริจาค มาประดิิษฐ์กันก็ได้ เทคนิคนี้คุณตัน อิชิตันก็ทำไว้บริจาคผู้ประสบภัย และใช้ได้ผลมาทุกรายแล้ว
 

หุ้มรถด้วยพลาสติกกันน้ำ

เทคนิคนี้เชื่อว่าค่ายรถชื่อดังได้เอามาแชร์ไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่กำลังกังวลว่าจะปกป้องพาหนะคู่ใจยังไงดี แต่เห็นแล้วคงต้องขอความช่วยเหลือหลายคนมาช่วยกัน เพราะขนาดของรถยนต์ก็ไม่ใช่เล้กๆ ถึงจะง่ายเหมือนการห่อสิ่งของทั่วไป แต่วิธีนี้ก็ถือเป็นไอเดียใหม่ๆ ที่อาจจะช่วยปกป้องทรัพย์สินของคุณได้บ้าง ยังดีกว่าปล่อยให้รถจมน้ำไปต่อหน้าต่อตา โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย

กลั่นน้ำดื่มฉุกเฉิน

นอกจากอาหารแห้ง และของใช้ในกระเป๋ายังชีพที่ต้องมีแล้ว น้ำดื่มก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิต แต่ภาวะน้ำท่วมแบบนี้จะหาน้ำสะอาดมาใช้ทั้งอุปโภคและบริโภคนั้นค่อนข้างขาดแคลนมาก ยิ่งถ้าถูกติดเกาะอยู่แต่ในบ้านด้วยแล้ว ก็ต้องรีบมาดูวิธีการกลั่นน้ำไว้ใช้เองในยามฉุกเฉินที่แชร์กันในโซเชียลเน็ตเวิร์คนี้ไว้ เพราะมันมีประโยชน์ต่อคุณมากเลยล่ะ โดยขั้นตอนในการกลั่นน้ำดื่มนั้น เริ่มจากตักน้ำที่ท่วมใส่กะละมัง จากนั้นนำแก้ววางไว้กลางกะละมัง และนำถุงปิดครอบปากกะลังมัดให้แน่น เสร็จแล้วเอาก้อนหินวางทับด้านบนให้ตรงกับปากแก้วก่อนนำไปตากไว้กลางแดด เพื่อให้น้ำกลั่นตัวเป็นน้ำสะอาด เพียงเท่านี้ก็มีน้ำไว้ใช้แล้ว

อุดบ้านด้วยแผ่นโพลีคาร์โบเนต

  

โดยทั่วไปส่วนใหญ่เวลารู้ว่าน้ำจะท่วมบ้าน การป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ภายในบ้านที่นิยมมากที่สุดก็คือการนำถุกระสอบทรายมากั้น และการก่ออิฐบล็อกโบกปูน แต่วิธีใหม่ล่าสุดที่ทางwww.pantip.comโพสไว้ ถือว่าเข้าท่าทีเดียว กับการนำแผ่นโพชีคาร์โบเนตมาปิดทับบริเวณช่องประตูที่น้ำสามารถเล็ดลอดเข้าในบ้าน จากนั้นก็นำกาวที่ใช้สำหรับอุดท่อพีวีซีมายิงทับให้แน่นหนา ซึ่งดูจากภาพขั้นตอนการทำแล้วไอเดียนี้น่าลองไปใช้

เทของคว่ำตู้เย็น

อีก 1 เคล็ดลับที่ในเฟสบุ๊คได้นำมาแชร์ไว้สำหรับการป้องกันความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะตู้เย็น เพราะมีขนาดใหญ่ ขนย้ายลำบาก ยิ่งถ้าบ้านไหนมีพื้นที่ไม่พอจะขนย้ายของขึ้นชั้นบนต้องเตรียมขนย้ายไปที่อื่น ลองนำวิธีนี้ไปใช้กันดู เพียงแค่เอาของที่อยู่ในตู้เย็นออกให้หมด จากนั้นจัดการปิดประตูใช้เชือกมัดให้เรียบร้อยแล้วคว่ำหน้า เพียงเท่านี้เวลาน้ำมาต่อให้มีระดับสูงแค่ไหน ตู้เย็นก็จะลอยและไม่พัง

 

 

ผ้าอนามัยD.I.Y

ถึงขั้นวิกฤติหนักติดเกาะจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่ดันต้องมาเจออุปสรรคสำคัญอย่างการมีประจำเดือนมาด้วย ยิ่งลำบาก เพราะจะหาซื้อผ้าอนามัยก็คงยากเหลือเกิน อีก 1 ไอเดียที่มาจากFM.MET107 ได้เอามาแชร์กันก็คือการประดิษฐ์ผ้าอนามัยไว้ใช้ฉุกเฉิน โดยอุปกรณ์ที่จำเป็น ก็ล้วนแต่เป็นของใกล้ตัวเช่น เสื้อยืดแขนยาว, กระดาษทิชชู, กรรไกร และเทปกาว ซึ่งขั้นตอนการทำนั้นเริ่มจาก ตัดแขนเสื้อให้ได้ขนาด 15-20 ซม. จากนั้นทำกระดาษทิชชูทับซ้อนกันหลายๆชั้น และนำไปสอดไว้ในแขนเสื้อ จากนั้นนำเทปกาวสอดแปะด้านใน โดยให้อีกด้านยื่นออกมาสำหรับแปะกับกางเกงชั้นในได้ทั้ง 2 ด้าน เพียงเท่านี้ก็จะได้ผ้าอนามัยไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ที่สามารถถอดซักได้ด้วย

ส้วมฉุกเฉิน

เรื่องห้องน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยิ่งผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ไม่มีห้องน้ำชั้นบนของบ้าน หรือต้องออกมาอาศัยอยู่ตามศูนย์อพยพที่อาจหาห้องน้ำสำหรับปลดทุกข์ด้วยแล้ว ยิ่งต้องรีบเตรียมความพร้อม จัดการประดิษบ์สุขาฉุกเฉินไว้ใช้จะดีกว่า ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำมีดังนี้คือ เก้าอี้พลาสติก นำมาเจาะรูตรงกลางเพิ่ม, ถุงดำขนาด 30x40 นิ้ว, จุลินทรีย์ EM สำหรับดับกลิ่น 1 ขวด, กระดาษทิชชู่, ตัวหนีบ 4 ตัว และยางรัด

โดยเริ่มแรกให้นำถุงดำใส่ลงในช่องเก้าอี้ที่เจาะรูไว้ จากนั้นคลี่ปากถุงด้านบนพับเข้ากับขอบที่นั่งของเก้าอี้ให้ตึงและยึดด้วยตัวหนีบ เพียงเท่านี้ก็มีส้วมฉุกเฉินไว้ใช้เป็นของส่วนตัวแล้ว แต่ทั้งนี้เมื่อปลดทุกข์เสร็จเรียบร้อย ให้เทผง EMลงไป 1 ช้อนชา ตามด้วยน้ำ 1 ถ้วย จากนั้นปิดด้วยฝาให้สนิท เมื่อถึงเวลาต้องนำไปเก็บทิ้งให้ไล่อากาศในถุงออกให้หมดเพื่อประหยัดเนื้อที่ทิ้งขยะ จากนั้นมัดปากถุงให้แน่นและนำไปทิ้ง

รองเท้าลุยน้ำ

  

การทำรองเท้า โดยถุงดำ ป้องกันโรคฉี่หนู จากกรมควบคุมโรค

  

เรือ จากฟิวเจอร์บอร์ด

  

กระทู้เพิ่มเติม : http://www.pantip.com/cafe/news/topic/NE11206520/NE11206520.html

ผ้าห่ม เพิ่มความอบอุ่น

  

ตู้เย็นไร้ไฟฟ้า เก็บอาหารสดนานๆ

  

ผลิตน้ำใช้สะอาด ด้วยตนเอง (แก้ปัญหาน้ำปะปา มีสี มีกล่น)

เขื่อนกั้นน้ำ DIY

ไม้ ตรวจไฟรั่ว DIY

ชูชีพหมา

คราวนี้ไม่ว่าเจ้าของจะไปไหน น้องหมาก็ไปได้...เฮไหน เฮกัน :)

แบบที่1
1.ตัดเสื้อยืด(ที่ผ้าหนาๆหน่อย)
2.เจาะช่องสำหรับสอดขา
3.เจาะช่องใส่ขวด
4.สอดขวดเอาหนังยางรัด
5.รัดจุกด้านบนเพื่อความแน่น

แบบที่2
(ใช้ยางในจักรยานหรือยางในของรถมอร์เตอร์ไซค์)
1.นำยางในมาบิดให้เป็นเลข8
2.เอาขาน้องหมาสอดเข้าไป
3.มัดเชือกที่ด้านล่าง(ท้องน้องหมา ระวังอย่าให้แน่นเกินไปนะคะ)
 

การปฐมพยาบาลที่ควรรู้ เมื่อน้ำท่วม

ดูแลกายใจ ยามน้ำท่วม

การเตรียมตัวเป็นผู้ประสบภัยที่ดี

  

      การป้องกันและอยู่กับสถานการณ์ที่คับขันแบบนี้อย่างมีสติ คงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพราะตอนนี้ก็คงเอาเอานอนไม่ได้ ว่าจะต้องมีอีกกี่เขตในกรุเทพมหานคร ที่ต้องรับสภาพน้ำเอ่อนอง สิ่งที่ควรคิดก็คือการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อความอยู่รอดและปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า

ที่มา  http://www.thairath.co.th/content/life/210964

ที่มาเพิ่มเติม  http://www.volunteerconnex.com/share