Home » ตัวอย่างคู่มือ,เอกสาร,แบบฟอร์ม » ตัวอย่าง TOR รายละเอียดและเงื่อนไขการจ้างเหมารักษาความปลอดภัย สถานที่

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ตัวอย่าง TOR รายละเอียดและเงื่อนไขการจ้างเหมารักษาความปลอดภัย สถานที่

 

 รายละเอียดและเงื่อนไขการจ้างเหมารักษาความปลอดภัย บริเวณสถานที่ต่างๆของอ.ต.ก.
ประจำปีงบประมาณ  2550
…………………………………

 

1.  สถานที่ดูแลรักษาความปลอดภัย

1.1  บริเวณอาคารที่ทำการสำนักงานอ.ต.ก. (อาคาร6ชั้น) พร้อมรถยนต์ของอ.ต.ก. และของ พนักงานอ.ต.ก. ตามบัญชีรายชื่อรถยนต์

1.2  บริเวณอาคารที่ทำการสำนักงานอ.ต.ก. (อาคารหลังเก่า)  และบริเวณโดยรอบบริเวณอาคาผู้ประกอบการค้าตลาดสัตว์เลี้ยง  และอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ด้านหลังอาคารสำนักงานอ.ต.ก.  (อาคารหลังเก่า) ทั้งกลางวันและกลางคืน

1.3  บริเวณภายในตลาดสดทั่วไปและบริเวณโดยรอบ

1.4  บริเวณลานจอดรถยนต์

1.5  บริเวณอาคารศูนย์รวมไม้ดอก-ไม้ประดับและตลาดขายส่ง

1.6  บริเวณศูนย์รวมผู้ผลิตกล้วยไม้สะพานควาย

1.7  บริเวณอาคารสหกรณ์ไม้ดอก-ไม้ประดับแห่งประเทศไทย

1.8  บริเวณจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผา

1.9  บริเวณร้านอาหารสพ. อ.ต.ก., สำนักงานสพ. อ.ต.ก., สร. อ.ต.ก., สอ. อ.ต.ก.

1.10  บริเวณอื่นๆตามที่อ.ต.ก. กำหนด

 

2.    คุณสมบัติของผู้เสนอราคา

2.1  ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

2.2  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้ง เวียนชื่อแล้วหรือไม่เป็นผู้ที่ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตาม ระเบียบของทางราชการ

2.3  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  และ/หรือต้องไม่เป็นผู้มี ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็คทรอนิกส์  ณ วันประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิกส์ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม 

     2.4  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้น แต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาจะได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น

2.5  ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัดและได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือจดทะเบียนพาณิชย์โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบ  กิจการรับจ้างบริการในด้านรักษาความปลอดภัยมาแล้วไม่น้อยกว่า2ปีนับแต่วันที่ยื่นเอกสาร  การประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

 2.6  ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5,000,000.- บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)

 2.7  ต้องเป็นบริษัทที่มีฐานะมั่นคง พร้อมจดทะเบียนประกันสังคม มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และเคยมีผลงานรับจ้างเหมารักษาความปลอดภัย สถานที่ของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และ เอกชน ด้วยดีมาแล้ว และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยมีหนังสือรับรองผลงานมาไม่น้อยกว่า 4 แห่ง (ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 1 แห่ง เอกชน 3 แห่ง) และมีอายุสัญญาจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ ละสัญญาค่าสัญญารวมภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต่ำกว่า 200,000.- บาท/เดือน หรือ 2,000,000.- บาท/ปี และมีลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามสัญญานั้นไม่น้อยกว่า 20 คน

  • ในกรณีที่ไม่มีผลงานหรือมีผลงานรับจ้างเหมารักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 200,000.- บาท/เดือน จะต้องมีผลงานของเอกชนที่องค์การเชื่อถือไม่ต่ำกว่า 3 สัญญา แต่ละสัญญาต้องมีมูลค่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่ต่ำกว่า 250,000.- บาท/เดือน หรือ  3,000,000.- บาท/ปี
  • ในแต่ละสัญญาข้างต้นต้องมีอายุการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีหนังสือรับรองผลงานการรับจ้างแนบมาด้วย

 2.8  มีลูกจ้างประจำซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ในงานรักษาความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 100 คน (มีบัญชีรายชื่อแนบ)

 2.9  ผู้เสนอราคาที่เคยมีสัญญากับ อ.ต.ก.มาแล้ว ภายในระยะเวลา 1 ปี นับถึงวันยื่นซอง ในระหว่าง อายุสัญญาจ้าง จะต้องมีผลงานที่ดี หรือถ้าหากมีการปรับในกรณีผิดสัญญารวมแล้วต้องไม่เกิน     20,000.- บาท/สัญญา 

 2.10 ต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนในการรับเอกสารการประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์   ณ  แผนกพัสดุ กองพัสดุ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร

 2.11 มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายเอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

 

3.  หน้าที่รักษาความปลอดภัย

       รักษาความปลอดภัยบริเวณสถานที่ต่างๆ ตามข้อ 1 และต้องมีหน้าที่อื่นอีก  ดังนี้

3.1  ดูแลป้องกันทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง  รวมทั้งรถยนต์ของพนักงานอ.ต.ก.  ตลอดจนทรัพย์สินของผู้ประกอบการค้า  ให้พ้นจากการโจรกรรม  การก่อวินาศกรรม  อัคคีภัย  และอื่นๆ  ซึ่งจะ ทำให้เกิดความเสียหาย  และสูญหายแก่ผู้ว่าจ้าง

3.2  ให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้มาติดต่อกับผู้ว่าจ้าง

3.3  ควบคุมดูแลและอำนวยความสะดวกในการจอดรถยนต์  การจัดการจราจรภายในบริเวณ อ.ต.ก. ตลอดจนการนำยานพาหนะเข้า-ออก  สถานที่ของผู้ว่าจ้างป้องกันไม่ให้พ่อค้าและแม่ค้าจากภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตนำสินค้าทุกประเภทเข้ามาจำหน่ายจ่ายแจกในบริเวณตลาดสดทั่วไปบริเวณอาคารสำนักงานและบริเวณสถานที่ต่างๆของอ.ต.ก. (รวมถึงรถเก็บของเก่า  การแจกแผ่นพับใบปลิว  และการตอบแบบสอบถาม)

3.4  ตรวจตราและป้องกันบุคคลภายนอกมิให้เข้ามาในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้างอันอาจก่อให้เกิดปัญหาหรือสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่ผู้ว่าจ้างหรือส่วนรวม

3.5  ควบคุมการเปิด-ปิดประตูรั้วเข้า-ออกโดยรอบบริเวณสถานที่ต่างๆของอ.ต.ก.และเปิด-ปิดประตูอาคารสำนักงาน  ประตูห้องทำงานของกอง/สำนักงานต่างๆภายในอาคารใหม่และอาคารเก่า

3.6  เปิด-ปิดระบบไฟฟ้าแสงสว่างระบบเครื่องปรับอากาศระบบลิฟท์ระบบน้ำประปาและอุปกรณ์สำนักงานต่างๆทั้งภายในอาคารสำนักงานและบริเวณโดยรอบสถานที่ต่างๆของ อ.ต.ก. ตามที่ได้กำหนดไว้

3.7  ตรวจบัตรและเก็บบัตรรถยนต์เข้า–ออกบริเวณสถานที่ต่างๆของอ.ต.ก.

3.8  ควบคุมดูแลตรวจสอบบุคคลและสิ่งของที่ผ่านเข้า-ออกบริเวณอาคารสำนักงานตลาดสด ทั่วไปและบริเวณสถานที่ต่างๆของอ.ต.ก.

3.9  หน้าที่อื่นๆตามที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายให้ปฏิบัติ

 

4.  อัตราเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

4.1  ใช้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำนวน  19  คน  และหัวหน้าผู้ควบคุมพนักงานรักษาความปลอดภัย จำนวน 2 คน  ผลัดละ  1  คน  รวมทั้งสิ้น  21  คน  ปฏิบัติหน้าที่ตลอด  24ชม. โดยแบ่งออกเป็น 2  ผลัด ๆ ละ 12 ชม.  ดังนี้

ผลัดที่ 1  เวลา 07.00 – 19.00  น.

พนักงานรักษาความปลอดภัย  จำนวน  10  คน

หัวหน้าผู้ควบคุมพนักงานรักษาความปลอดภัย  จำนวน  1  คน

ผลัดที่ 2   เวลา 19.00 – 07.00  น.

พนักงานรักษาความปลอดภัย  จำนวน  9  คน

หัวหน้าผู้ควบคุมพนักงานรักษาความปลอดภัย  จำนวน  1  คน

และเพิ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยอีก  จำนวน  2  คน  เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์  

ตั้งแต่เวลา  07.00 น. - 19.00 น.

4.2  จำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในแต่ละผลัดอ.ต.ก. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับลดจากอีกผลัด หนึ่ง  ไปเพิ่มอีกผลัดหนึ่งได้  ตามความเหมาะสม

4.3  หัวหน้าผู้ควบคุมพนักงานรักษาความปลอดภัย  ผลัดละ 1 คน  ทำหน้าที่ควบคุม และตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยทั้งหมด ตลอด 24 ชม. ละจะต้องรายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งส่งรายชื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยที่มาปฏิบัติงานให้ผู้ว่าจ้างทราบในวันรุ่งขึ้นหรือวันทำการถัดไป  และประสานงานกับผู้ว่าจ้าง ตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด 24 ชม.

                                                 

5.  คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัยที่มีประสบการณ์และเข้าใจในด้านการรักษาความปลอดภัย  การใช้สัญญาณจราจรเป็นอย่างดีมาปฏิบัติงาน  และก่อนที่จะส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาปฏิบัติงานจะต้องฝึกอบรมให้ทราบถึงกฎระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและเข้าใจถึงภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติรับผิดชอบแต่ละจุดตามข้อ1 ตลอดจนความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดีเสียก่อน  และมีคุณสมบัติตามข้อ  5.1-5.11  ดังนี้

5.1  มีสัญชาติไทย  มีภูมิลำเนาแน่นอน

5.2  มีอายุไม่ต่ำกว่า21 ปี และไม่เกิน 45 ปี  และมีส่วนสูง 160  ซม.ขึ้นไป  (เพศชายหรือหญิง อ.ต.ก. จะเป็นผู้กำหนด)

5.3  มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว  ไม่เป็นนักเลงการพนัน

5.4  เป็นบุคคลที่ต้องมีไหวพริบช่างสังเกต   รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

5.5  ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพหรือไร้ความสามารถ  จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

5.6  ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์  ลักษณะองอาจผึ่งผาย  น่าเกรงขาม  ไม่เป็นโรคที่ต้องห้ามตาม ระเบียบราชการ  ไม่ติดสุราและยาเสพติด

5.7  ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกจากงาน  ฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดร้ายแรง

5.8  ไม่เคยเป็นผู้ต้องโทษจำคุก  โดยคำพิพากษาถึงที่สุด

5.9  การศึกษาต้องไม่ต่ำกว่า ป.6

5.10  เป็นผู้มีจิตใจรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ด้วยความบริสุทธิใจจะต้องได้รับและผ่านการฝึกอบรมในด้านต่างๆจากวิทยากรหรือหน่วยงานที่มีความชำนาญการ       

5.11  เป็นผู้ฝึกอบรมโดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ผ่านการฝึกอบรมดังต่อไปนี้

  • มาตรการรักษาความปลอดภัย  อาคารและสถานที่
  • อำนวยความสะดวกด้านการจราจร
  • การประชาสัมพันธ์
  • การบรรเทาสาธารณภัยในเบื้องต้น

6.  อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัย

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ  เพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัยเอง ทั้งสิ้น  ดังนี้

6.1  จัดให้มีอาวุธประจำกาย

6.2  จัดให้มีโต๊ะทำงานเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการปฏิบัติงานและรับ-ส่งเวรแต่ละผลัด

6.3  จัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกคนมีไฟฉายเพื่อใช้ในเวลากลางคืน

6.4   จัดให้มีสมุดรายงานการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยแต่ละจุด

6.5   จัดให้มีนกหวีดประจำตัวพนักงานรักษาความปลอดภัยทุกคน

6.6   เครื่องมือสื่อสารต้องสามารถปรับระบบให้ใช้กับเครื่องมือสื่อสารที่อ.ต.ก. มีอยู่  หรือจัดหา  เพิ่มเติม  เครื่องมือสื่อสารให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมงานของอ.ต.ก.  จำนวนไม่น้อยกว่า 4 ชุด  เพื่อใช้ติดต่อภายในระยะเวลาสัญญาจ้าง

 

7.  เครื่องแบบพนักงานรักษาความปลอดภัย

ผู้รับจ้างต้องจัดให้มีเครื่องแบบสำหรับพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยเป็นแบบฟอร์มของผู้รับจ้างโดยต้องมีชื่อนามสกุลที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายหรือขวาและผู้รับจ้างต้องส่งภาพถ่ายแบบฟอร์มมาให้ด้วย
 

 

8.  แผนงานรักษาความปลอดภัย

ผู้รับจ้างต้องจัดทำแผนรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณของผู้ว่าจ้างทุกจุดทั้งกลางวันและกลางคืนเสนอให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาด้วย   พร้อมจัดทำตารางและรายละเอียดในการปฏิบัติงานประจำวันของผู้ปฏิบัติงานโดยนำเสนอเป็นตารางเวรรายวันทุกวัน


 
เงื่อนไขอื่นๆ

1. ผู้ว่าจ้างมีสิทธบังคับบัญชาพนักงานรักษาความปลอดภัยของผู้รับจ้างเสมือนหนึ่งนายจ้างของพนักงานรักษาความปลอดภัยนั้น

2. ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะคัดเลือกพนักงานรักษาความปลอดภัย  ที่ผู้รับจ้างจัดส่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้

3. ถ้ามีเหตุฉุกเฉินใดๆ เกิดขึ้นจะต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบทันที

4. ผู้รับจ้างจะต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานโดยเคร่งครัดตลอด  24  ชม.  ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่เริ่มลงมือดำเนินการตามสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้  หรือประพฤติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ว่าจ้างได้แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วยังละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือไม่ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ในระยะเวลาอันควร  ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันๆ ละ 500.-  บาท  (ห้า-ร้อยบาทถ้วน)  จนกว่าผู้รับจ้างจะปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาทั้งนี้โดยผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่ยึดหรือหักเงินค่าจ้างเพื่อชำระค่าปรับหรือใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก็ได้  โดยผู้รับจ้างไม่ถือว่าผู้ว่าจ้างปฏิบัติผิดสัญญาและไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากผู้ว่าจ้าง

5. ผู้รับจ้างจะต้องมิให้พนักงานรักษาความปลอดภัยแต่ละคนปฏิบัติงานเกินกว่า1 ผลัด  ต่อ 1 วัน

6. ผู้รับจ้างจะต้องจัดให้มีหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราดูแลการรักษาความปลอดภัยของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นประจำทุกวัน  และให้หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยพบผู้ว่าจ้าง  หรือผู้ที่ว่าจ้างมอบหมายเป็นประจำทุกวัน

7. พนักงานรักษาความปลอดภัยคนใดมีความบกพร่องต่อหน้าที่  ไม่มีระเบียบวินัย  และความประพฤติไม่ดีตามที่ผู้ว่าจ้างระบุ  โดยผู้ว่าจ้างบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบแล้ว  ผู้รับจ้างจะต้องรีบดำเนินการเปลี่ยนตัวพนักงานรักษาความปลอดภัยทันที  และจะนำมาปฏิบัติหน้าที่อีกไม่ได้

8. พนักงานรักษาความปลอดภัยที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แล้ว  หากผู้รับจ้างต้องการจะเปลี่ยนตัวพนักงาน  ให้ขอความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้างก่อน  พร้อมทั้งแจ้งประวัติโดยย่อของพนักงานตามเงื่อนไข ข้อ 9

9. ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งประวัติของพนักงานรักษาความปลอดภัยทุกคนที่ส่งมาปฏิบัติงานพร้อมเอกสารมอบตัวพนักงาน  ดังนี้

  • รูปถ่ายปัจจุบัน  ขนาด  1  นิ้ว  จำนวน  1  รูป
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • ประวัติโดยย่อ(ตามแบบฟอร์มของผู้รับจ้าง)

10. ห้ามมิให้พนักงานรักษาความปลอดภัยใช้วัสดุ  อุปกรณ์ของใช้  และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆของผู้ว่าจ้างและพนักงาน  ยกเว้นห้องน้ำ  และไม่ต่อกระแสไฟฟ้า  หรือต่อน้ำประปาของผู้ว่าจ้างไปใช้  หรือต่อไปให้บุคคลภายนอกใช้  หรือยินยอมให้บุคคลภายนอกทำเช่นนั้น  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้าง  หากฝ่าฝืนผู้รับจ้างจะต้องเสียค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้าง เป็นจำนวนเงินครั้งละ  2,000.-  บาท(สองพันบาทถ้วน)  ของแต่ละครั้งแต่ละรายการ

11. ผู้ว่าจ้างมีสิทธิส่งผู้แทนของผู้ว่าจ้างเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้า  หากพบว่าในขณะปฏิบัติงานตามสัญญาผู้ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างกระทำการใดเป็นการฝ่าฝืนสัญญาหรือปฏิบัติงานไม่ครบถ้วน  หรือปฏิบัติงานไม่เหมาะสมผู้แทนของผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์สั่งให้ผู้ปฏิบัติงานผู้นั้นหยุดการกระทำดังกล่าวได้ทันที  หรือมีคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานหรือให้เปลี่ยนตัวผู้ปฏิบัติงานนั้นเสียก็ได้  โดยผู้รับจ้างต้องปฏิบัติ ทันทีและจัดหาผู้ปฏิบัติงานใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทน

12. ห้ามพนักงานรักษาความปลอดภัยปฏิบัติ ดังนี้

  • ห้ามอ่านหนังสือ, ฟังวิทยุหรือเครื่องเสียง, ดูโทรทัศน์ขณะปฏิบัติหน้าที่
  • ห้ามหลับในขณะปฏิบัติหน้าที่หรืออาศัยหลับนอนในป้อมยามและในอาคารสำนักงาน อ.ต.ก.
  • ห้ามนำบุคคลภายนอกหรือผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามั่วสุมหรือนอนในป้อมยามและในอาคารสำนักงานอ.ต.ก.โดยเด็ดขาด
  • ห้ามนำเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่นๆมาแขวนในป้อมยามและบริเวณอาคารสำนักงาน อ.ต.ก.
  • ห้ามเล่นการพนันในบริเวณพื้นที่ๆรับผิดชอบและไม่ดื่มสุรา, ของมึนเมาก่อนเวลาหรือ ขณะปฏิบัติหน้าที่
  • ห้ามละทิ้งจุดที่รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยเด็ดขาดก่อนได้รับอนุญาตจากสายตรวจหรือผู้ควบคุมของผู้ว่าจ้าง
  • ห้ามพักอาศัยภายในบริเวณอ.ต.ก. เมื่อออกเวรแล้วต้องออกนอกพื้นที่ทันที

13. ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ย่อมทำได้  โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  15  วัน  ผู้รับจ้างยินยอมรับเงื่อนไขและจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากผู้ว่าจ้าง

14. ผู้ว่าจ้างมีสิทธิและอำนาจในการจัดแบ่งพนักงานรักษาความปลอดภัยในบริเวณต่างๆโดยพิจารณา ตามความเหมาะสม  ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าในบริเวณใดที่มีความจำเป็นในการดูแลรักษาความปลอดภัยได้ลดน้อยลงและผู้ว่าจ้างไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานรักษาการณ์ในบริเวณนั้นอีกต่อไป                        

      ผู้ว่าจ้างมีสิทธิลดจำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัย  พร้อมลดอัตราค่าจ้างไปในคราวเดียวกัน  โดยผู้ว่าจ้างจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน  และผู้รับจ้างไม่ถือว่าผู้ว่าจ้างปฏิบัติผิดสัญญา  และจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ว่าจ้างแต่ประการใด

15. ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุเร่งด่วนเป็นครั้งคราว  หากผู้ว่าจ้างต้องการพนักงานรักษาความปลอดภัยเพิ่ม  ผู้รับจ้างต้องจัดมาให้ทันที

16. ผู้รับจ้างจะต้องจัดให้มีสวัสดิการประกันสังคมแก่พนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมาย  และจัดให้มีเครื่องแบบของพนักงานหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างเอง  ตลอดจนจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพออกอบรมแก่พนักงานหรือลูกจ้างของผู้รับจ้าง  เป็นประจำทุกสัปดาห์ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน้าที่ความรับผิดชอบ

17. หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายใดๆขึ้นต่อทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง  รวมทั้งรถยนต์ของพนักงาน อ.ต.ก.  ตลอดจนผู้ค้าในตลาดที่อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานหรือลูกจ้างของผู้รับจ้าง  ซึ่งได้ตรวจสอบและตรวจนับถูกต้อง  โดยเจ้าหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง  และเจ้าหน้าที่ของผู้รับจ้าง โดยทรัพย์สินนั้นได้เก็บไว้ในที่มิดชิด  และปิดล๊อคกุญแจเรียบร้อยแล้ว  ปรากฏว่าทรัพย์สินนั้นได้เกิดเสียหาย  หรือสูญหายในระหว่างระยะเวลาการรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างโดยมีร่องรอยของการโจรกรรม  ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชดใช้ราคาทรัพย์สินตามมูลค่าของทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหายโดยตีราคาตามสภาพของทรัพย์สินนั้นๆ

18. หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายใดๆ ขึ้นต่อทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง  รวมทั้งรถยนต์ของพนักงาน อ.ต.ก.  ตลอดจนผู้ค้าในตลาดตามข้อ 17. โดยไม่มีร่องรอยของการโจรกรรม  ซึ่งการเสียหายหรือสูญหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาการรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง  ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชดใช้ราคาทรัพย์สินตามมูลค่าของทรัพย์สินที่สูญหายหรือเสียหายนั้น  แต่ทั้งนี้จะต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเป็นความบกพร่องหรือทุจริตของเจ้าหน้าที่ฝ่ายใด  ถ้าผลการสอบสวนไม่ปรากฏว่า  เป็นความบกพร่องหรือทุจริตของฝ่ายผู้ว่าจ้าง  ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชดใช้ราคาทรัพย์สินตามมูลค่าของทรัพย์สิน  ที่สูญหายหรือเสียหายนั้นจนครบถ้วน

19. ถ้าผู้รับจ้างปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดจะทั้งหมดหรือแต่บางส่วน  ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกสัญญาได้ทันที  ในกรณีเช่นนี้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิหักเงินใดๆ ที่ผู้รับจ้างพึงต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างจากเงินค่าจ้างที่ยังไม่ได้ชำระได้

20. ผู้รับจ้างจะต้องจัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ  ได้แก่  สายตรวจ  สายตรวจพิเศษ  หัวหน้าแผนก  หมุนเวียนเจ้ามาตรวจดูแลการปฏิบัติงาน  รวมถึงการทดสอบความเข้าใจในหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยต่อเนื่องตลอด  24  ชั่วโมง  และให้ลงลายมือชื่อในใบรายงานทุกครั้ง                 

21. ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามเงื่อนไขข้อ  19  ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับคราวละไม่น้อยกว่า  2,000.-  บาท  นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในเงื่อนไขข้อ  22  ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้  ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที

22. หากผู้ว่าจ้างตรวจพบว่า  พนักงานรักษาความปลอดภัยในแต่ละผลัดมาปฏิบัติงานไม่ครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้ว่าจ้างจะแจ้งให้ผู้รับจ้างหรือผู้แทนทราบและจะหักค่าจ้าง 500.- บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)  ต่อคนต่อผลัดตามจำนวนที่หายไป

23. การชดใช้ราคาทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหาย  และการชำระค่าปรับผู้รับจ้างจะต้องชดใช้และหรือชำระทันทีที่ได้รับแจ้งจากผู้ว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร  ถ้าผู้รับจ้างไม่ยอมชดใช้และหรือชำระค่าเสียหายและหรือค่าปรับดังกล่าว  ผู้ว่าจ้างมีสิทธิหักเงินค่าเสียหายและหรือค่าปรับจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างได้จนครบจำนวน

24. ในกรณีที่พนักงานหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างลาออกจากงานหรือเลิกจ้าง  ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาพนักงานหรือลูกจ้างมาทำการแทนทันที  และจะต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ  ทั้งจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 9 โดยอนุโลม

25. ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ  พ.ศ.2517  ด้วย

26. ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยของผู้รับจ้างทุกคน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 

27.  ระยะเวลาการจ้างเหมารักษาความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2550

 

…………………………….