Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » นิติบุคคลอาคารชุดกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
นิติบุคคลอาคารชุดกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาระภาษีของนิติบุคคลอาคารชุด

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2556

อาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัยที่มีคนอยู่อาศัยรวมกันเป็นจำนวนมากที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันซึ่งมีกฎระเบียบ คอยควบคุมผู้ที่อาศัยให้เป็นระเบียบและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทั้งนี้ผู้ซื้อห้องชุดจะมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของ ตนเอง ซึ่งถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล

แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกันกับเจ้าของร่วมคนอื่น ๆ ในอาคารชุด เช่น ทางเดิน สระว่ายน้ำ ลิฟต์ บันไดเลื่อน จึงจำเป็นต้องมีนิติบุคคลอาคารชุด เป็นผู้คอยทำหน้าที่ดูแล รักษาความสะอาดจัดระเบียบให้กับผู้อาศัยในอาคารชุด

ทั้งนี้คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด จะเข้ามาดูแลภายในอาคาร ซึ่งอาจจะมีบุคลากรหลายคนด้วยกัน ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ต้องมีการว่าจ้าง มีการจ่ายเงินเดือน เพื่อให้เข้ามาดูแลในอาคารชุด โดยเจ้าของห้องชุดจะต้องจ่ายเงินเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายเหล่านี้ รวมถึงค่าใช้จ่าย อื่น ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าดูแลระบบลิฟต์

เงินที่เรียกเก็บจากเจ้าของอาคารชุดนั้นจะเรียกเก็บในนามของ นิติบุคคลอาคารชุด ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งจะเรียกเก็บ 2 ประเภทคือ เงินกองทุน และค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากเจ้าของห้องชุด เพื่อนำมาจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ข้างต้น

และนิติบุคคลอาคารชุด ก็เป็นนิติ บุคคลตามกฎหมายประเภทหนึ่ง แต่มิใช่นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร จึงเกิดปัญหาขึ้นมาว่าเงินกองทุน หรือเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

ที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่

จะพบว่า นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ใช่นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร จึงไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล อีกปัญหาหนึ่งคือเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะนิติบุคคลอาคารชุดเป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มีฐานะเป็นนิติ บุคคล แยกต่างหากจากเจ้าของห้องชุด และการกระทำการเรียกเก็บเงินกองทุน และเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าสาธารณูปโภค จากเจ้า ของห้องชุด เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่าบริการ ตาม ม. 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น นิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม. 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 33/2540 วินิจฉัยว่า นิติบุคคลอาคารชุดที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งกระทำกิจการเฉพาะตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ยังไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม. 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องนำเงินกองทุน ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคที่เป็นค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ที่จำเป็นอย่างอื่นที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดมารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม.

ดินสอพอง

ที่มา http://www.dailynews.co.th/Content.do?cmd=article&atPage=2&contentId=191775