Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » การประชุมใหญ่เจ้าของร่วม นิติบุคคลอาคารชุด

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การประชุมใหญ่เจ้าของร่วม นิติบุคคลอาคารชุด

ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม (นิติบุคคลอาคารชุด)

สยามธุรกิจ  ฉบับที่ 1331 ประจำวันที่ 1-8-2012  ถึง 4-8-2012  > ข่าวอสังหาริมทรัพย์   

              การประชุมใหญ่ของนิติบุคคลอาคารชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 หมายถึง การประชุมใหญ่สามัญหรือการประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วมแล้วแต่กรณีและในการประชุมใหญ่แต่ละครั้งจะต้องมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่า หนึ่งในสี่ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่เจ้าของร่วมมาประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ให้เรียกประชุมใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และการประชุมครั้งหลัง นี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม

             แต่ในการแจ้งเรียกประชุมใหญ่นั้น จะต้องดำเนินการดังนี้

            1.ทำเป็นหนังสือเชิญประชุมไปยังเจ้าของร่วมทุกห้องชุด หนังสือเชิญประชุมดังกล่าวต้องระบุวันเวลา และสถานที่ที่จะจัดการประชุมด้วย

            2.กำหนดระเบียบวาระในการประชุม ซึ่งตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในมาตรา 42/1 นั้น ได้ระบุว่า “คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญปีละครั้ง ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุด” ในส่วนของวาระการประชุมที่จะต้องพิจารณากัน มีดังนี้ วาระที่ 1.พิจารณาอนุมัติงบดุล วาระที่ 2.พิจารณารายงานประจำปี วาระที่ 3.พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี วาระที่ 4.พิจารณาเรื่องอื่นๆ

            3.เรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ต้องมีรายละเอียดตามสมควร 4.ในการจัดส่งหนังสือเชิญประชุมดังกล่าวจะต้องจัดส่งให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมในการประชุมใหญ่ที่จัดให้มีขึ้นนั้น หากผู้มีหน้าที่มิได้ปฏิบัติตามมาตรา 42/3 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ก็มีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี โดยร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวได้

            สำหรับผู้ที่มีอำนาจในการเรียกประชุมใหญ่ ก็ให้ดูว่าเป็นการประชุมใหญ่ “สามัญ” หรือ “วิสามัญ” หากเป็นการประชุมใหญ่สามัญ ผู้ที่มีอำนาจเรียกประชุมคือ ประธานคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด แต่หากเป็นการประชุมใหญ่ ครั้งแรกของนิติบุคคลอาคารชุด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุด

            ในส่วนของการประชุมใหญ่วิสามัญ ผู้มีอำนาจเรียกประชุม มีดังนี้คือ 1.ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด 2.คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด โดยมติเกินกึ่งหนึ่ง ของที่ประชุมคณะกรรมการ 3.    เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมดลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการฯ ให้เปิดการประชุม

             ในส่วนของการจัดส่งหนังสือเชิญประชุม กฎหมายมิได้ระบุไว้ว่าจะต้องส่งโดยวิธีใด แต่ในทางปฏิบัตินิติบุคคลอาคารชุด ควรจะส่งให้กับเจ้าของร่วมตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสารบบข้อมูลของนิติบุคคลอาคารชุด แต่ทางที่ดีขอให้ความเห็นว่าควรจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนดีที่สุด หากเจ้าของร่วมรายใดที่พักอาศัยอยู่ภายใน อาคารชุดก็ให้เจ้าของร่วมรายนั้นๆ ลงนามรับหนังสือเชิญประชุม

             หากเจ้าของร่วมใดที่มิได้พักอาศัยในอาคารชุด ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนิติบุคคล อาคารชุด ควรจะต้องตรวจสอบข้อมูลรายชื่อที่อยู่/ที่ติดต่อของเจ้าของร่วมให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดส่งเอกสารของนิติบุคคลอาคารชุดในคราว ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหรือหนังสืออื่นใด เพื่อป้องกันกรณีเกิดการโต้แย้งจากเจ้าของร่วมว่า นิติบุคคลอาคารชุดมิได้มีหรือจัดส่งหนังสือให้ครับ

ที่มา   http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413365706