Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » การป้องกันน้ำท่วม(อุทกภัย) สำหรับคอนโดมิเนียม

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การป้องกันน้ำท่วม(อุทกภัย) สำหรับคอนโดมิเนียม

         การวางแผนป้องกันอุทกภัยสำหรับอาคารสูง จะพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงที่จะอาจจะเกิดขึ้นกับอาคาร ประกอบด้วย

  1. ที่ตั้งของอาคาร โดยจะต้องพิจารณาถึงระดับความสูงของพื้นที่เทียบกับระดับน้ำทะเล และบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง และอาคารอยู่ในแนวคลองระบายน้ำ หรือเป็นจุดน้ำท่วมขังหรือไม่
  2. กายภาพของอาคาร ซึ่งระบบประกอบอาคารที่สำคัญ ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสียต่างๆ อยู่ในจุดใดของอาคาร

       ซึ่งเมื่อพิจารณาจากทั้ง 2 ปัจจัยแล้ว ก็จะสามารถประเมินความเสี่ยงของอาคารเพื่อนำมาวางแผนกลยุทธ์ในการป้องกันได้

       ทั้งนี้จะต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งการเผชิญน้ำที่อยู่บนผิวดินและน้ำที่มาจากใต้ดิน ซึ่งจุดที่จะต้องป้องกัน ได้แก่

  • จุดที่ 1. บริเวณช่องทางเข้า-ออกอาคาร และบริเวณรอบอาคาร
  • จุดที่ 2. ช่องหรือท่อของงานระบบประกอบอาคาร คือ ท่อระบายน้ำ, ช่องลมระบายอากาศ, ท่อระบบไฟฟ้า, ท่อระบบโทรศัพท์
  • และจุดที่ 3. พื้นที่ที่สามารถเกิดการรั่วซึมได้ คือ บริเวณสวนรอบอาคาร รอยแตกของพื้น และผนังของอาคาร

เทคนิคการป้องกันอุทกภัย  ประกอบด้วย

       การทำแนวป้องกันพื้นที่โดยรอบ ต้องพิจารณาจากระดับพื้นที่ตั้งของอาคาร โดยประเมินเทียบกับปริมาณน้ำที่จะเข้ามาท่วมว่ามีความสูงเท่าใด ซึ่งมีหลักการการจัดทำผนังกั้นน้ำนั้นจะต้องมีความสูงที่สัมพันธ์กับฐานความกว้าง คือ 1 : 3 เพื่อให้แนวป้องกัน/ผนังกั้นน้ำนั้นมีความแข็งแกร่งเพียงพอ

       การป้องกันน้ำที่จะเข้าตัวอาคารผ่านช่องทางงานระบบฯ  จะต้องทำการป้องกันโดยเฉพาะในส่วนของท่อระบายน้ำโดยใช้วัสดุที่สามารถลดการซึมผ่านและทนแรงกดของน้ำได้ และในส่วนของท่องานระบบอื่นๆ และรอบแตกของพื้นผิวและผนังนั้นควรใช้การปิด (Seal) ด้วยการยิงโฟม เมื่อดำเนินการจัดทำแนวป้องกันตามข้างต้นแล้ว ก็จะต้องดำเนินการจัดเตรียมอุปกรณ์ในขั้นตอนต่อไป

       อุปกรณ์ที่จัดหาต้องเป็นอุปกรณ์ประเภทช่วยเสริมการป้องกันน้ำที่เข้ามาภายในอาคาร ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ ทั้งแบบไฟฟ้าและเครื่องยนต์ ที่มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อเพิ่มความเร็วในการระบายน้ำ น้ำมันสำรองสำหรับการเดินระบบไฟฟ้าสำรองของอาคาร โดยกำหนดให้ใช้ได้ในระยะ 2-3 วัน เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น และการเตรียมแผนสำหรับการตัดระบบไฟฟ้าของอาคาร เพื่อความปลอดภัย

        อย่างไรก็ตาม หากน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานไม่เกิน 1 เดือนนั้น ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคาร ยกเว้นอาคารที่อาจมีปัญหาจากงานก่อสร้างครั้งแรกหรือมีการแก้ไข ต่อเติมอาคารอย่างไม่ถูกหลักวิศวกรรม

ที่มา  http://www.posttoday.com/บ้าน-คอนโด/121829/แนะอาคารสูงในเมืองรับมือน้ำท่วม