Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ... ผู้ใหญ่บ้านของคอนโดฯ

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ... ผู้ใหญ่บ้านของคอนโดฯ

           ระการแรกเราต้องรับทราบไว้ก่อนว่ากฎหมาย(พรบ.อาคารชุด)กำหนดไว้ว่า คอนโดมิเนียมทุกแห่งที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องมี “ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อเป็นตัวแทนในการทำนิติกรรมต่างๆ มีหน้าที่คล้ายๆผู้จัดการบริษัท หรือผู้ใหญ่บ้านนั้นเอง

           ละเมื่อเราได้ “
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว” เขาจะมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานตามกฎหมายและตามข้อตกลงของแต่ละอาคารชุด รวมไปถึงมีสิทธิที่จะใช้อำนาจ ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือเร่งด่วน เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อความเป็นอยู่ของลูกบ้าน กระซิบว่าต้องมีข้ออ้างดีๆด้วยนะ ซึ่งก็หาได้ไม่ยาก

           ซึ่งตามกฎหมาย “
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” มีอำนาจในการสั่งการและดำเนินการหลายอย่างเริ่มตั้งแต่ เป็นผู้ดำเนินการแทนหรือในนามนิติบุคคลหรือตามมติของกรรมการอาคารชุดหรือที่ประชุมใหญ่โดยต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ โดยเฉพาะเรื่องการติดต่อหน่วยงานราชการและเอกชน , เป็นผู้จัดการ ดูแล จัดซื้อ จัดหา ทรัพย์สินส่วนกลาง และกิจการบริการอำนวยความสะดวกต่าง รวมไปถึงเรื่องเงินๆทองๆด้วย , จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปี ติดตามดูแลการใช้จ่าย และจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายเพื่อตรวจสอบ พูดง่ายๆว่าเป็นพนักงานบัญชีให้เรานั้นเอง และจำยักยอกเงินบำรุงรักษาส่วนกลางก็ตอนนี้แหละ , ดำเนินการว่าจ้าง เลิกจ้าง ลูกจ้างพนักงานของนิติบุคคลอาคาร รวมทั้งดูแลการปฏิบัติงาน ซ่อมบำรุงข้างของเครื่องใช้ต่างๆภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ , ออกกำหนดกฎเกณฑ์การใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล ทรัพย์ส่วนกลาง การอยู่ร่วมกัน และอัตราค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และเงินกองทุน , คอยดูแลความสงบเรียบร้อยภายในอาคารชุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัวเขา ครอบครัวเรา สามีภรรยาทะเลาะกัน ตีกัน ลูกบ้านเมาแล้วอาละวาด น้ำจากห้องข้างบนซึมลงมาห้องข้างล่าง เพื่อนห้องแอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแล้วส่งเสียงดัง เหล่านี้ “ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” ก็ต้องเข้าไปดูแลทั้งสิ้น อ่านมาถึงตรงนี้เริ่มรู้สึกไหมว่าอำนาจที่เขามี แต่หน้าที่ที่ต้องทำก็ไม่ต่างอะไรไปจากพ่อบ้าน-แม่บ้านของอาคารเลย

            ส่วนหน้าที่หลักๆที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายนั้นหากยังไม่พอ หรือไม่ครอบคลุมก็สามารถอาจเพิ่มเติมได้ตามข้อตกลงของแต่ละคอนโด หรือตามมติคณะกรรมการควบคุมจัดการนิติบุคคล หรือมติที่ประชุมใหญ่ให้เพิ่มเติม แต่ก็มีข้อเสียคือจะทำให้ “
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” ที่บ้าอำนาจ สามารถมีอำนาจมากมายล้นฟ้าอย่างที่หลายๆแห่งเป็นอยู่

            มื่อทราบอย่างนี้แล้ว เราๆท่านๆจะได้ไม่ต้องปวดหัวกับพฤติกรรมของบรรดา “
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” และสามารถแย้งหรือติติงการปฏิบัติงานของ “ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” ได้ว่าอะไรที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป คราวหน้าหากต้องเลือก “ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” อีกจะได้เลือกคนที่ดีที่ถูกใจ

ที่มา    thaicontractor.com : 2011-03-17