Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » การทุจริตเงินค่าส่วนกลาง นิติบุคคลอาคารชุดและหมู่บ่านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การทุจริตเงินค่าส่วนกลาง นิติบุคคลอาคารชุดและหมู่บ่านจัดสรร

 

Home Buyers' Guide   ฉบับเดือน มกราคม 2554
สารพัดวิธีโกงค่าส่วนกลาง ลูกบ้านพึงระวัง!

             พฤติกรรมการโกงมี 2 แบบ แบบแรกคือตั้งใจโกง พยายามหาวิธีที่แยบยลแนบเนียนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเอง อีกพวกคือไม่ได้ตั้งใจโกงแต่เหตุการณ์พาไป ประเภทเอาเงิน (ส่วนกลาง) ที่ได้รับจากลูกบ้านไปหมุนก่อน ตั้งใจว่าเสร็จธุระแล้วจะนำมาใช้คืน เมื่อบ่อยๆ เข้าจากเงินก้อนเล็กก็กลายเป็นเงินก้อนโต  สุดท้ายก็ไม่สามารถชำระคืนได้ แบบนี้ก็ถือว่าโกงเหมือนกัน

สารพัดวิธีโกง

           * โกงกันดื้อๆ ง่ายๆ  วิธีนี้เจ้าหน้าที่รับเงินสดจากลูกค้าแล้วใช้ใบเสร็จปลอม หรือใช้ใบรับเงินชั่วคราว รับเงินแล้วไม่นำเข้าระบบ วิธีนี้จะทำง่ายถ้าเจ้าหน้าที่ทำงานมานาน  มีความสนิทสนมกับลูกต้า  เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน  ยิ่งบางครั้งลูกค้าเร่งรีบ  เจ้าหน้าที่จะแจ้งลูกค้าว่าจะนำใบเสร็จรับเงินไปใส่ไว้ในช่องจดหมาย หรือให้มารับภายหลัง  ถ้าลูกค้าหลงลืมหรือไม่สนใจ ไม่ทวงถาม ก็จะเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่โกงได้โดยง่าย

          
* โกงเนียนๆ  วิธีนี้เวลาลูกค้า Pay-in ค่าส่วนกลางและ Fax ให้เจ้าหน้าที่ ก็จะมีการแก้ไขตัวเลขในใบ Fax ให้ต่ำกว่าที่ลูกค้า Fax มาจริง แล้วถ่ายเอกสารเก็บเป็นหลักฐาน โดยจะนำไปเฉลี่ยกับรายรับเงินสดที่ออกใบเสร็จรับเงินไปแล้ว กว่าคณะกรรมการหรือบริษัทรับบริหารทรัพย์สินจะตรวจสอบพบ เจ้าหน้าที่ก็ได้เงินไปมากพอและก็หายตัวไปแล้ว

          
นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคที่เนียนมากๆ เช่น มีการใช้เทปปิดตัวเลขและตัวอักษรที่แสดงจำนวนเงินค่าส่วนกลางใบสำเนาใบที่ 2-3 โดยการออกใบเสร็จฉบับลูกค้าค่าส่วนกลางเต็มจำนวน แต่ในสำเนาตัวเลขต่ำกว่าที่ได้รับมาจริง เงินส่วนต่างดังกล่าวเจ้าหน้าที่เก็บไป เมื่อถูกตรวจสอบจะปรากฏว่าลูกค้ารายนี้ค้างชำระค่าส่วนกลาง เมื่อมีการออกใบแจ้งหนี้หรือใบทวงถามเจ้าหน้าที่ก็เก็บไว้หรือเอาไปทำลายทิ้ง วิธีนี้ทำง่ายมากโดยเฉพาะกับลูกบ้านที่ไม่ได้อยู่ประจำหรือไม่ได้เข้าอยู่ หรือถ้าเจ้าหน้าที่มีความรู้ด้านโปรแกรมการเงินของนิติบุคคลที่ใช้ในการควบคุมระบบลูกหนี้ ก็จะมีการแก้ไขฐานข้อมูลในโปรแกรมซึ่งทำให้ยากต่อการจับได้หรือตรวจพบ

          
นอกจากการโกงค่าส่วนกลางแล้ว ยังมีการลักษณะของการฮั้วการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น เปอร์เซ็นต์ส่วนลดเพิ่มจากการประกันภัยอาคาร, การรักษาความปลอดภัย, การดูแลสวน, การรักษาความสะอาด ฯลฯ เจ้าหน้าที่จะได้ค่าหัวตั้งแต่ 100-500 บาทต่อหัว หรือการจ่ายเงินสดย่อยในการซื้อของ เช่น วัสดุสิ้นเปลือง จะใช้ใบเสร็จที่ไม่ต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หรือไม่ก็ทำใบเสร็จปลอมขึ้นมาเอง เป็นต้น

          
สารพัดวิธีโกงเกี่ยวกับค่าส่วนกลางเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น (ยกเว้นคนที่ตั้งใจโกง) ฉะนั้นทั้งเราในฐานะลูกบ้านที่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าส่วนกลาง หรือคณะกรรมการนิติบุคคล  ควรหาวิธีที่จะป้องกัน เช่น การจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม หรือการติดประกาศเพื่อเตือนให้ลูกค้าเรียกรับใบเสร็จทุกครั้งเมื่อจ่ายค่าส่วนกลาง วิธีนี้อาจสามารถป้องกันการโกงได้ระดับหนึ่ง แต่อีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นคือเราผู้อาศัยควรเอาใจใส่กับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบ และต้องเรียกรับใบเสร็จทุกครั้งโดยไม่ต้องเกรงใจ พร้อมทั้งสังเกตหรือขอดูสำเนาว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เงินของใคร แต่เป็นเงินค่าส่วนกลางของพวกเราทั้งนั้น
 

ที่มา   http://www.home.co.th/H5_home_data_detail.aspx?S_N_DATA_ID=61478