Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » อาคารต้านแผ่นดินไหว...ป้องกันไว้ดีกว่า

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
อาคารต้านแผ่นดินไหว...ป้องกันไว้ดีกว่า

อาคารต้านแผ่นดินไหว...กันดีกว่าแก้
เดลินิวส์ "กฎหมายรอบรั้ว" วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2554

ทุกวันนี้มีข่าวแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้งและไม่ได้ไกลตัวเราเลย เพราะบางครั้งก็เกิดขึ้นในไทย (แต่มีแรงสั่นสะเทือนน้อย) ซึ่งอย่าได้นิ่งนอนใจไปนะครับ อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นทางฝั่งอันดามันของไทย
    
แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่ไม่อาจควบคุมได้ อันตรายที่สำคัญจากแผ่นดินไหวได้แก่ การพังทลายของอาคารที่อยู่อาศัย และเส้นทางการคมนาคมขนส่ง มาตรการป้องกันอันตรายที่ใช้อยู่ทั่วไป ได้แก่การจัดทำแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จัดแบ่งพื้นที่ออกตามระดับความเสี่ยง และการกำหนดมาตรฐานการออกแบบก่อสร้างอาคารในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีระดับความต้านทานแผ่นดินไหวที่เหมาะสม
    
การออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยทั่วไปจะยอมให้อาคารมีการโยกไหวรุนแรงจนตัวอาคารแตกร้าวเสียหายได้ แต่จะต้องไม่พังทลายลงมา การออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานการสั่นสะเทือน จากแผ่นดินไหวเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ในสภาวะ ที่มีการเปลี่ยนรูปร่างเกินพิกัดยืดหยุ่น หลักการออกแบบตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปจึงปรับให้ง่ายขึ้น
    
โดยกำหนดให้ออกแบบให้โครงสร้างสามารถรับแรงในแนวราบได้ในระดับที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องพิจารณารูปร่างสัดส่วน โครงสร้างให้มีความสมมาตร สามารถโยกไหวได้โดยไม่บิดตัว นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงการจัดรายละเอียด เช่น การเสริมเหล็กให้โครงสร้างสามารถดูดซับพลังงานได้ดี
    
อย่างไรก็ดี กฎหมาย (กฎกระทรวงออกแบบอาคารต้านแรงแผ่นดินไหว) ที่บังคับใช้เมื่อปลายปี 2550 ที่ผ่านมา บังคับเฉพาะอาคารใหม่ อาทิ อาคารสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป อาคารสูงอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ สถานศึกษา  สถานพยาบาล อาคารสรรพสินค้า เป็นต้น อาคารเหล่านี้ จะต้องให้วิศวกรคำนวณเสริมโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรงรับแรงสั่นสะเทือนกรณีเกิดแผ่นดินไหว
    
ทั้งที่จริงแล้วอาคารเก่าส่วนใหญ่จะอันตรายสูงกว่า และกฎกระทรวงออกแบบอาคารรับแรงแผ่นดินไหว ก็บังคับใช้เฉพาะอาคารที่ยื่นขออนุญาตใหม่ในช่วงที่กฎหมายมีผลบังคับใช้  แต่อาคารเก่าจำนวนมาก ที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุม หากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว หรือสึนามิเกิดขึ้นจะเกิดความสูญเสียตามมามาก
    
ทั้งนี้ร่างกฎกระทรวงใหม่เสริมแรงแผ่นดินไหวสำหรับอาคารเก่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงมหาดไทยและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้
    

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นหลายครั้งจากประเทศเพื่อนบ้านและสั่นสะเทือนมาถึงไทย อาจส่งผลกระทบได้ในอนาคต ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันโดยเฉพาะเจ้าของอาคารจะต้องตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก.

ที่มา   http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=507&contentID=128978