Home » คอมพิเตอร์ เก็บตก » คุณรู้หรือไม่ว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ทุกวันนี้ ถ้าใช้ผิดวิธีต้องรับโทษอย่างไร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
คุณรู้หรือไม่ว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ทุกวันนี้ ถ้าใช้ผิดวิธีต้องรับโทษอย่างไร

โดย สุพรรณี อุดมพรสุขสันต์ ฝ่ายประสานและบริการSMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) - 16 ตุลาคม 2551

            ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยิน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ กันบ้างแล้ว  ซึ่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐  พระราชบัญญัตินี้จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับกระทบท่านโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่เป็นความผิด ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยิน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ กันบ้างแล้ว  ซึ่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐  พระราชบัญญัตินี้จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับกระทบท่านโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่เป็นความผิด

           และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งหมายถึง (1.) ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย  (2.) ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเตอร์เน็ตทั้งผ่านสายและไร้สายหรือในระบบเครือข่าย  คอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน (3.) ผู้ให้บริการระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider) (4.) ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน Application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider   สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจคือว่า

           ผู้ให้บริการ นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเตอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น หากท่านเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ ผู้ให้บริการตามกฎหมายนี้ จะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯนี้ กล่าวคือ

"มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้

            ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

            ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท"

            หลักในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้  คือ จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ให้น่าเชื่อถือ ขอให้ท่านยึดหลักการง่ายๆ คือข้อมูลที่เก็บ ต้องมีรายการที่สามารถระบุว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นใคร เข้ามาทางเครือข่ายได้อย่างไร มีหมายเลข IP อะไร ใช้โปรแกรมประยุกต์อะไร ในห้วงเวลาใด นาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร และข้อมูลจราจร ต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไข หรือสื่อข้อมูลเสื่อมคุณภาพ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน

            อนึ่ง หลังจากกฎหมายนี้ประกาศใช้แล้ว "ผู้ใช้" อินเตอร์เน็ตจะต้องปรับตัวกันหรือไม่นั้น ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าใช้โดยสุจริต ไม่มีปัญหาเลย ข้อกฎหมายจะไม่ยุ่งเกี่ยว นอกจากคนที่มีเจตนามุ่งร้าย เช่น ส่ง Spam Mail ไปรบกวน โดยทางกฎหมาย การส่ง Spam เป็นความผิด แต่นั่นหมายความว่าต้องมีเจตนาด้วย   ส่วนในเรื่องของเสรีภาพของคนใช้อินเตอร์เน็ตจะลดลงหรือไม่นั้น  คงไม่ใช่ปัญหาเพราะท่านเองจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น เสรีภาพในทางที่ผิดก็จะถูกควบคุม อย่าง    แคมฟร็อก คิดว่านี่คือการใช้เสรีภาพหรือ ในขณะที่ต่างชาติเขาคุมกันเองได้ แต่พวกเราไม่คุมเลย อย่างนี้ เมื่อคุมเองไม่ได้ ก็ต้องถูกคนอื่นเขาบังคับ เท่านั้นล่ะ อีกอย่างในฐานะบุคคลธรรมดาอย่างเราๆ ไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่นำไปสู่ "กระทำความผิด" ตาม พรบ.นี้

  1. อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น
  2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
  3. อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
  4. อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
  5. อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
  6. อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
  7. อย่ากด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
  8. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล 
     

หากท่านกระทำผิดหรือฝ่าฝืน พระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องรับโทษดังนี้

ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 10,000 บาท
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
คอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่น จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยไม่ชอบ
ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 2 ปี ไม่เกิน 40,000 บาท
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ของ
ผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบ
คอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail)
ไม่มี ไม่เกิน 100,000 บาท
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำ
ไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
การกระทำต่อความมั่นคง
- ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์
- กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศ/เศรษฐกิจ
- เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ไม่เกิน 10 ปี
3 ปีถึง 15 ปี
10 ปีถึง 20 ปี

และไม่เกิน 200,000 บาท
และ60,000-300,000 บาท
ไม่มี
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น 
(การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม)
ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการ
กระทำความผิด
ต้องระวางโทษเช่นเดียว กับผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียว กับผู้กระทำความผิด
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท

        *** คิดสักนิด *** คอมพิวเตอร์ไม่เคยทำร้ายเรา เพราะถ้ามันทำร้าย เราเล่นงานมันได้ แต่ถ้าไม่มีกฎหมายมาคุ้มครองมันทำร้ายเราๆไปเล่นงานมันไม่ได้ ไม่รู้จะไปหาใคร ไม่มีข้อกฎหมาย