Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » สิทธิทางภาษีของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
สิทธิทางภาษีของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

สิทธิทางภาษีของนิติฯบ้านจัดสรร

dailynews.co.th - วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
           นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ตั้งขึ้นเพื่อรับโอนสาธารณูปโภค รวมทั้งให้บริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกที่ซื้อที่ดิน หรือบ้านจัดสรร จึงเป็นนิติบุคคลที่มิได้แสวงหากำไรและได้รับยกเว้นภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับการโอนและการรับโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ และการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภค
 
           นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาและประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
           การโอนทรัพย์สิน, การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ รวมทั้งการส่งมอบจำนวนเงินประกันค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรร (ร้อยละ 7 ของมูลค่าก่อสร้างสาธารณูปโภคดังกล่าว) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
 
           รายได้ค่าบริการที่เรียกเก็บจากสมาชิก รายได้จากการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรซึ่งเป็นสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
          นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีหน้าที่แจ้งการรับโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ และการเป็นผู้ให้บริการสาธารณะแก่สมาชิกของนิติบุคคลนั้นแก่สรรพากรพื้นที่ในท้องที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีสถานประกอบการตั้งอยู่ภายใน 30 วันตั้งแต่วันที่ได้รับโอนทรัพย์สินตามประกาศข้างต้น
 
          นอกจากนี้ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ยังมีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัว และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ล.ป.10.4) ต่อสรรพากรพื้นที่ในท้องถิ่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร) เพื่อมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 10 ตัวซึ่งขึ้นต้นด้วยเลข 4 หมายถึงนิติบุคคล ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้แต่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือนลูกจ้าง, ค่าเช่า, ค่าโฆษณา, ค่าจ้างค่าบริการ ต่าง ๆ เป็นต้น นะครับ.
 
ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/950/183288